เมนู

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก.
จบ โลกสูตรที่ 4

อรรถกถาโลกสูตรที่ 4


ในโลกสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โลกสฺส ได้แก่สังขารโลก.
จบ อรรถกถาโลกสูตรที่ 4

5. เสยยสูตร


ว่าด้วยอะไรทำให้ประเสริฐกว่ากัน


[ 158 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออะไรมีเพราะยึดมั่นอะไร ถือมั่นอะไร จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐ
กว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย
ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี เพราะยึดมั่นจักษุ ถือมั่นจักษุ
จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯลฯ

เมื่อใจมี เพราะยึดมั่นใจ ถือมั่นใจ จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่า
เขาเสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ยึดมั่นสิ่งนั้นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา
เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ยืดมั่นสิ่งนั่นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา
หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
จบ เสยยสูตรที่ 5

อรรถกถาเสยยสูตรที่ 5


คำที่จะพึงกล่าวในเสยยสูตรที่ 5 เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน
ขันธิยวรรคนั่นแล.
จบ อรรถกถาเสยยสูตรที่ 5
จบ โยคักเขมีวรรคที่ 1


6. สังโยชนสูตร1


ว่าด้วยเหตุแห่งสังโยชน์


[ 159 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่ง
สังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์
และสังโยชน์เป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือ
จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจในจักษุนั้น เป็นสังโยชน์ในจักษุนั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุ
แห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นสังโยชน์
ในใจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์
และสังโยชน์.
จบ สังโยชนสูตรที่ 6
1. ตั้งแต่สูตรที่ 6-10 ไม่มีอรรถกถาแก้.