เมนู

ตติยปัณณาสก์

โยคักเขมีวรรคที่ 1



อรรถกถาโยคักเขมีสูตรที่ 1


โยคักเขมีวรรค โยคักเขมีสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โยคกฺเขมปริยายํ ได้แก่เป็นธรรมปริยาย อันเป็นเหตุ
ของบุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะ. บทว่า ธมฺมปริยายํ แปลว่า เป็นเหตุ
แห่งธรรม. บทว่า อกฺขาสิ โยคํ ได้แก่ กล่าวความประกอบ บทว่า
ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่ทรงเป็นผู้เกษมจากโยคะ เพราะเรียกเอาเอง
หรือเพราะละโยคะได้ เพราะละโยคะได้ มิใช่มีเพราะเรียกเอาเองฉะนั้น.
จบ อรรถกถาโยคักเขมีสูตรที่ 1

2. อุปาทายสูตร


ว่าด้วยความสุขความทุกข์อาศัยอะไรเกิด


[153] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
อะไรมี สุขและทุกข์อันเป็นภายในอาศัยอะไรเกิดขึ้น.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวก
ข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายใน
อาศัยจักษุเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อใจมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายในอาศัยใจเกิดขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ . ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุข
สละทุกข์อันเป็นภายใน ไม่อาศัยสิ่งนั้นพึงเกิดขึ้นหรือ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุข
และทุกข์อันเป็นภายใน ไม่อาศัยสิ่งนั้นพึงเกิดขึ้นหรือ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ อุปาทายสูตรที่ 2

อรรถกถาอุปาทายสูตรที่ 2


ในอุปาทายสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสุขและทุกข์ฝ่ายเวทนา. แต่สุขและทุกข์
ฝ่ายเวทนานั้น เป็นสุขและทุกข์ ฝ่ายวิบาก จึงจะควร.
จบ อรรถกถาอุปาทายสูตรที่ 2

3. ทุกขสูตร


ว่าด้วยความเกิดและความดับแห่งทุกข์


[154] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ
แห่งทุกข์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน ความเกิดแห่ง
ทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรมทั้ง 3 ประการ
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์
เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้แลเป็นความเกิด
แห่งทุกข์.
[155] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความ
ดับแห่งทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม
3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ