เมนู

ว่าด้วยความไม่เสื่อมจากกุศลธรรม


[ 141] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมมีอย่างไร อกุศล
บาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นครอบงำ
ละ บรรเทา กำจัดให้สิ้นไป ไม่ให้มี ข้อนั้นภิกษุทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อม
จากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความไม่
เสื่อม ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ
ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นครอบงำ ละ บรรเทา
กำจัดให้สิ้นไป ไม่ให้มี ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศล-
ธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมมีอย่างนี้แล.

ว่าด้วยอภิภายตนะ 6


[142] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ 6 เป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่าย
สังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ. ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำ
แล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ตูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่าอภิภายตนะ 6.
จบ ปริหานสูตรที่ 3

อรรถกถาปริหานสูตรที่ 3


ในปริหานธรรมสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริหานธมฺมํ ได้แก่ มีความเสื่อมไปเป็นสภาพ. บทว่า
อภิภายตนานิ ได้แก่ อายตนะอันอบรมยิ่งแล้ว. ในบทว่า สรสงฺกปฺปา
นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ . ชื่อว่า สรา เพราะ ซ่านไป อธิบายว่า แล่นไป.
ความดำริเหล่านั้นด้วย ซ่านไปด้วย ชื่อ สรสังกัปปา. บทว่า สญฺโญ-
ชนิยา
ได้แก่ อกุศลธรรมอันเป็นเครื่องผูก คือ เป็นปัจจัยแก่การผูกสัตว์
ไว้ในภพ. บทว่า ตญฺเจ ภิกฺขุ ได้แก่ ข้อนั้น คือ กิเลสชาตที่เกิดขึ้น
อย่างนี้ หรือได้แก่อารมณ์นั้น. บทว่า อธิวาเสสิ ได้แก่ ยกอารมณ์มา
ให้อยู่ในจิต. บทว่า นปฺปชหติ ได้แก่ ย่อมไม่ละ ด้วยการละฉันทราคะ
พึงประกอบกับบททั้งปวงอย่างนี้. บทว่า อภิภายตนํ นเหติ วุตฺตํ
ภควตา
นี้ตรัสว่า อภิภายตนะนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอบรมยิ่ง
แล้ว. ในที่นี่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงถามจำแนกธรรม จึงทรงแสดง
ถึงธรรมโดยปุคคลาธิษฐาน.
จบ อรรถกถาปริหานธรรมสูตรที่ 3