เมนู

ใจอบรมด้วยดีในอารมณ์ 6. บทว่า ผุฏฺฐสฺส จิตฺตํ น วิกมฺปเต กฺวจิ
ความว่า หรือ เมื่อบุคคล ถูกสุขสัมผัสกระทบแล้ว จิตย่อมไม่หวั่นไม่ไหว
ในอารมณ์อะไร ๆ. บทว่า ภวถ ชาติมรณเสฺส ปารคา ความว่า จง
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา.
จบ อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ 1

2. ทุติยสังคัยหสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่ออยู่ผู้เดียว


[13] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์.
โดยย่อที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
มาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวกภิกษุหนุ่ม
ทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม
ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น.
[132] มา. ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าขอ
พระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้
ถึงพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า.

พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร เรอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่
พึงรู้แจ้งด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็น
ในบัดนี้ด้วยความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ
มีความกำหนัด หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ.
มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคย
ได้ฟังแล้ว ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มี
แก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียง
เหล่านั้นหรือ.
มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคย
ได้ดมแล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มี
แก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่น
เหล่านั้นหรือ.
มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้
ลิ้มแล้ว ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอ
ด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ.
มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว
ทั้งไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า
เราถูกต้อง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมี
ความรักในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้ง
ไม่ได้เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่
เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์
เหล่านั้นหรือ.
มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
[133] พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่
ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่
ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็น
เพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ
ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูก่อนมาลุกยบุตร ใน
ธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และ
ธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ใน
เสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว
เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้
แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะ
ประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะ
ประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพัน
ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือจักไม่พัวพัน
ที่ได้รู้แจ้ง ดูก่อนมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่าง
โลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า
[134] ลืมสติไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจ
ถึงรูปเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอัน
มีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน
อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์
อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
ลืมสติไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจ
ถึงเสียงเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์
นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนา
อันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิต
อันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
ลืมสติไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจ
ถึงกลิ่นเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์
นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนา
อันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิต
อันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
ลืมสติไปแล้วเพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรส

เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมี
ความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรส
เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌา
และวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน ลืมสติไปแล้ว
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏ-
ฐัพพะเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมี
โผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิต
อันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
ลือสติไปแล้ว เพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อ
ใส่ใจถึงธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด
เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้น
ตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์เป็นแดนเกิดเป็น
อเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไป
กระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า
ห่างไกลนิพพาน.

[135] บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูป
ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่
มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็น

รูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม
ทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป
โดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณ-
ฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นได้ฟังเสียง
แล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียงทั้งหลาย มีจิตคลาย
กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดในอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวยเวทนา
อยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ โดยประการใด
บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดยประการนั้น
เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้
นิพพาน. บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้วมีสติไม่
กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย
อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่
บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้น
ไปและไม่สั่งสมทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้น
เป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดยประการนั้น เมื่อไม่
สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้น ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรส
ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้ง
ไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อ
ลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม

ทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป
โดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมอยู่อย่างนี้ บัณฑิต
กล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะ
แล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย มีจิต
คลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจ
อารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและ
เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ โดย
ประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดย
ประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต
กล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว
มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลาย
กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจ
อารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และ
เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดย
ประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต
กล่าวว่าใกล้นิพพาน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการนี้.
[136] พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร สาธุ ๆ เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง
ธรรมที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า

[137] ลืมสติไปเพราะเป็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูป
เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้ง
มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็น
แดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและ
วิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสมทุกข์อยู่
อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ

[138] บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัด
ในธรรมารมณ์ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อ
รู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและ
ไม่สั่งสมทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
เที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่าง
นี้ ฯลฯ เรากล่าวว่า ใกล้นิพพาน.

ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดย
ย่อนี้โดยพิสดารอย่างนี้แล.
[139 ] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ
แล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก
จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่ง
ท สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต

โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกยบุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่ง
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ ทุติยสังคัยหสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยสังคัยหสูตรที่ 2


ในทุติยสังคัยหสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มาลุกฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตร ของนางมาลุกยพราหมณี.
บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในการขอโอวาทนั้นก่อน. ทรงติเตียนบ้าง ทรง
ปลอบบ้างซึ่งพระเถระด้วยเหตุนี้. อย่างไร. คือ ได้ยินว่า พระเถระนั้น
ในเวลาเป็นหนุ่ม มัวเมาในรูปารมณ์เป็นต้น ภายหลังในเวลาแก่ ปรารถนา
อยู่ป่า จึงขอกรรมฐาน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสโดยพระ-
ประสงค์ดังนี้ว่า เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ ในที่นี้ พวกเธอประมาทในเวลา
ที่เขาหนุ่ม ในเวลาแก่พึงเข้าป่ากระทำสมณธรรมเหมือน พระมาลุกยบุตร
ชื่อว่า ทรงติเตียนพระเถระ.
ก็เพราะเหตุที่พระเถระ ประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรม แม้ใน
เวลาที่ตนแก่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสโดยพระประสงค์ดังนี้ว่า
เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ ในที่นี้อย่างไร มาลุกยบุตรของเรานี้ แม้ใน
เวลาแก่ก็ประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรม จึงขอกรรมฐาน ธรรมดาว่า
พวกท่านแม้ในเวลาเป็นหนุ่ม จะไม่กระทำความเพียรกันหรือ ชื่อว่า
ทรงปลอบพระเถระ.