เมนู

9. ปฐมทวยสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง


[ 123 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงส่วนสองแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ส่วนสองเป็นไฉน คือ
จักษุกับรูป 1 โสตะกับเสียง 1 ฆานะกับกลิ่น 1 ชิวหากับรส 1 กาย
กับโผฏฐัพพะ 1 ใจกับธรรมารมณ์ 1 นี้เรียกว่าธรรมคู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกเลิกส่วนสองนั้นเสียแล้ว
จักบัญญัติส่วนสองเป็นอย่างอื่น วาจาของบุคคลนั้นกันให้เป็นเรื่องของ
เทวดา. ก็บุคคลนั้นถูกเขาถามเข้าแล้วก็อธิบายไม่ได้ และถึงความอึดอัด
ยิ่งขึ้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย.
จบ ปฐมทวยสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมทวยสูตรที่ 9


ปฐมทวยสูตรที่ 9 คำว่า ทฺวยํ แปลว่า ส่วนสอง.
จบ อรรถกถาปฐมทวยสูตรที่ 9

10. ทุติยทวยสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง


[124] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็น
อย่างไร จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความ

แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความ
แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน
มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่
เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุ
วิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยงจักเป็นของเที่ยงแต่ไหน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรม
ทั้ง 3 นี้แล เรียกว่าจักษุสัมผัส.
[ 125 ] ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น
อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความ
แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย
ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา
อันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด สัญญา
อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านั้นก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยลิ้นและรส ลิ้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น
รสไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหว
และอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ชิวหาวิญญาณ
ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น
อย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย

ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ
ประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง 3 นี้แล เรียกว่า
ชิวหาสัมผัส.
[126] แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มี
ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาสัมผัส
ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะ
กระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้
ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น
ฯลฯ มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ใจไม่เที่ยง มี
ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความ
แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหวและอาพาธ
ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
มโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโน-
วิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่
ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน
แห่งธรรม 3 ประการนี้แล เรียกว่ามโนสัมผัส.

[ 127 ] แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มี
ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัส
ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะ
กระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้
ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วนสอง ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบ ทุติยทวยสูตรที่ 10
ฉันนวรรคที่ 4

อรรถกถาทุติยทวยสูตรที่ 10


ในทุติยทวยสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อิตฺเถตํ ทฺวยํ เป็น เอวเมตํ ทฺวยํ แปลว่า ทั้ง 2 นี้
ด้วยประการฉะนี้. บทว่า จลญฺเจว พฺยาธิญฺจ ความว่า ย่อมหวั่นไหว
และเจ็บป่วย เพราะไม่เป็นไปตามสภาวะของตน. บทว่า โยปิ เหตุ
โยปิ ปจฺจโย
ความว่า วัตถุและอารมณ์ เป็นเหตุและเป็นปัจจัย แก่
จักขุวิญญาณ. บทว่า จกฺขุโต นิจฺจํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นของเที่ยง
เพราะเหตุไร. เหมือนอย่างว่าบุตรผู้เกิดในท้องของทาสีของชายผู้เป็นทาส
ก็กลายเป็นทาสคนหนึ่งไป ฉันใด วัตถารมณ์ วัตถุและอารมณ์ ก็เป็นของ