เมนู

5. ปุณณสูตร


ว่าด้วยความเพลิดเพลินทำให้เกิดทุกข์


[112] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ ๆ เดียว หลีก
ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุ
ยินดี สรรเสริญ พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี สรรเสริญ
พัวพันรูปนั้น ความเพลิดเพลิน ก็เกิดขึ้น ดูก่อนปุณณะ เพราะความ
เพลิดเพลินเกิดขึ้นจึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ดูก่อนปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวน
ให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี สรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรา
กล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี สรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลินก็บังเกิดขึ้น ดูก่อนปุณณะ เพราะความเพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์.
[113] ดูก่อนปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า
เมื่อภิกษุนั้น ไม่ยินดี ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลิดเพลิน
ก็ดับไป ดูก่อนปุณณะ เพราะความเพลิตเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ

ดูก่อนปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี
ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี
ไม่สรรเสริญไม่พัวพันธรรมารมณ์ เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี
ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป ดูก่อนปุณณะ
เพราะความเพลิดเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูก่อนปุณณะ ด้วยประการฉะนี้
เธอนั้น จึงไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้.
[114] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่
เบาใจในธรรมนี้ เพราะข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความ
เกิดความดับ คุณ โทษ และความสลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอ
ย่อมพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา ดังนี้หรือ.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนี้ จักษุเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดี
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ 1 นี้เป็นอันเธอละขาด
แล้วเพื่อไม่เกิดอีกต่อไปด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ
เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้หรือ.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนั้น ใจจักเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดี
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ 6 นี้ จักเป็นอันเธอละขาด
แล้ว เพื่อความไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนปุณณะ ดีละ
เธออันเรากล่าวสอนแล้วด้วยโอวาทย่อนี้ จักอยู่ในชนบทไหน.
ท่านพระปุณณเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ชนบทชื่อสุนาปรันตะมีอยู่
ข้าพระองค์จักอยู่ในชนทบนั้น.

ว่าด้วยมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นผู้ดุร้ายเป็นประจำ


[115] พ. ดูก่อนปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย
หยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ
ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร.
ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า
จักบริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเรา
ด้วยมือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้.
พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
เธอด้วยมือเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร.