เมนู

และอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปใยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวก
ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต
ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน.

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล


[11] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะ
กล่าวไปใยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อม
ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ.

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล


[ 12 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา
จะกล่าวไปใยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน.
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา
จะกล่าวไปใยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่
เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่ง
ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน.
จบ พาหิรสูตรที่ 10
อนิจจวรรคที่ 1

อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ 7 - 10


สูตรที่ 7 เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจเวไนยสัตว์ผู้กำหนดอนิจจ-
ลักษณะเป็นต้นในจักษุเป็นต้นที่เป็นอดีตและอนาคต ลำบากด้วยการยึดถือ
ในรูปที่เป็นปัจจุบันว่ามีกำลัง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแล
จบ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ 7 - 10

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1 อัชฌัตติกอนิจจสูตร 2. อัชฌัตติกทุกขสูตร 3. อัชฌัตติก-
อนัตตสูตร 4. พาหิรอนิจจสูตร 5. พาหิรทุกขสูตร 6. พาหิรอนัตตสูตร
7. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร 8. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร
9. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร 10. พาหิรสูตร.
จบ อนิจจวรรคที่ 1