เมนู

นี้ ท่านปรารภเพื่อแสดงการละความโศกเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแล.
บทว่า น ปริตสฺสติ ได้แก่ ไม่ดิ้นรน คือไม่สะดุ้ง. บทว่า ตทงฺคนิพฺพุโต ได้แก่
ดับสนิทด้วยองค์นั้นๆ เพราะดับกิเลสทั้งหลายด้วยองค์คือวิปัสสนานั้น.
ในพระสูตรนี้ท่านกล่าวเฉพาะวิปัสสนาเท่านั้น.
จบ อรรถกถาอัตตทีปสูตรที่ 1

2. ปฏิปทาสูตร



ว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อความเกิดและความดับสักกายทิฏฐิ



[89] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัย (ความเกิดขึ้นแห่งกายตน)
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับแห่งกายตน)
เธอทั้งหลายจงฟังปฏิปทาทั้ง 2 นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอัน
จะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้
สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมแห่ง
พระอริยะ มิได้รับการแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน 1 ย่อมเห็นตนมีรูป 1 ย่อมเห็นรูป
ในตน 1 ย่อมเห็นตนในรูป 1 ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน
ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน 1 ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ 1
ย่อมเห็นวิญญาณในตน. ย่อมเห็นตนในวิญญาณ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย