เมนู

อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ 4-9



สูตรที่ 4 เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในธาตุสังยุต
นั่นแล. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวสัจจะ 4 ไว้ในสูตรที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ใน
ธาตุสังยุตนั้น ตามลำดับ. ในสูตรที่ 9 ท่านกล่าววัฏฏะและนิพพานไว้.
จบ อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ 4-9

10. อฆมูลสูตร



ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์



[68] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั่นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน ทุกข์คือรูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือ
สัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกข์.
[69] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน ตัณหานี้ใด
นำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความ
เพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.
จบ อฆมูลสูตรที่ 10

อรรถกถาอฆมูลสูตรที่ 10



ในอฆมูลสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อฆํ ได้แก่ ทุกข์. ในที่นี้ท่านกล่าวทุกขลักษณะเท่านั้น
ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอฆมูลสูตรที่ 10

11. ปภังคุสูตร



ว่าด้วยความสลายและไม่สลายแห่งทุกข์



[70] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงภาวะสลาย และภาวะไม่สลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นภาวะสลาย อะไรเป็นภาวะไม่สลาย รูป
เป็นภาวะสลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูปนั้น
เป็นภาวะไม่สลาย เวทนาเป็นภาวะสลาย ฯลฯ สัญญาเป็นภาวะสลาย
ฯลฯ สังขารเป็นภาวะสลาย ฯลฯ วิญญาณเป็นภาวะสลาย ความดับ
ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งวิญญาณนั้น เป็นภาวะไม่สลาย.
จบ ปภังคุสูตรที่ 11
จบภารวรรคที่ 3

อรรถกถาปภังคุสูตรที่ 11



ในปภังคุสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปภงฺคุํ ได้แก่ มีอันแตกไปเป็นสภาวะ. ในที่นี้ท่านกล่าว
อนิจจลักษณะเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปภังคุสูตรที่ 11
จบภารวรรคที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ภารสูตร 2. ปริญญาสูตร 3. ปริชานสูตร 4. ฉันทราคสูตร
5. อัสสาทสูตรที่ 1 6. อัสสาทสูตรที่ 2 7. อัสสาทสูตรที่ 3
8. อภินันทนสูตร 9. อุปปาทสูตร 10. อฆมูลสูตร 11. ปภังคุสูตร.