เมนู

จากทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ได้.
จบ อภินันทนสูตรที่ 8

9. อุปปาทสูตร



ว่าด้วยความเกิดและความดับทุกข์



[66] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา
และมรณะ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง
เวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่ง
ชราและมรณะ.
[ 67 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความ
ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความเข้าไประงับแห่ง
โรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ความดับ ความเข้าไป
ระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร
ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความเข้าไประงับแห่ง
โรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
จบ อุปปาทสูตรที่ 9

อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ 4-9



สูตรที่ 4 เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในธาตุสังยุต
นั่นแล. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวสัจจะ 4 ไว้ในสูตรที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ใน
ธาตุสังยุตนั้น ตามลำดับ. ในสูตรที่ 9 ท่านกล่าววัฏฏะและนิพพานไว้.
จบ อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ 4-9

10. อฆมูลสูตร



ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์



[68] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั่นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน ทุกข์คือรูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือ
สัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกข์.
[69] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน ตัณหานี้ใด
นำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความ
เพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.
จบ อฆมูลสูตรที่ 10

อรรถกถาอฆมูลสูตรที่ 10



ในอฆมูลสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อฆํ ได้แก่ ทุกข์. ในที่นี้ท่านกล่าวทุกขลักษณะเท่านั้น
ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอฆมูลสูตรที่ 10