เมนู

บทว่า ราคกฺขโย เป็นต้น เป็นชื่อของพระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพาน
นั้นชื่อว่ากำหนดรู้ล่วงส่วน.
จบ อรรถกถาปริญญาสูตรที่ 2

3. ปริชานสูตร



ว่าด้วยผู้ไม่ควรและผู้ควรสิ้นทุกข์



[56] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งเวทนา
ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อสิ้นทุกข์.
[57] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้
เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งรูป จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง
เมื่อกำหนดรู้ เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร
ซึ่งวิญญาณ จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์.
จบ ปริชานสูตรที่ 3

อรรถกถาปริชานสูตรที่ 3



ในปริชานสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อภิชานํ ได้แก่รู้ยิ่ง ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวหมายเอา
ญาตปริญญา ด้วยบทที่ 2 ท่านกล่าวหมายเอาติรณปริญญา ด้วย

บทที่ 3 และที่ 4 ท่านกล่าวหมายเอาปหานปริญญา รวมความว่า
ในสูตรนี้ ท่านกล่าวปริญญา 3 อย่างแล.
จบ อรรถกถาอภิชานสูตรที่ 3

4. ฉันทราคสูตร



ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ 5



[58] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูปเสีย ด้วยการละอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงละ
ฉันทราคะในเวทนาเสีย ฯลฯ เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสัญญาเสีย
ฯลฯ เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสังขารเสีย ฯลฯ เธอทั้งหลายจงละ
ฉันทราคะในวิญญาณเสีย ด้วยการละอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็นอัน
เธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
จบ ฉันทราคสูตรที่ 4

5. อัสสาทสูตรที่ 1



ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์เกี่ยวกับขันธ์ 5



[59] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตก
อย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นคุณของรูป อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่อง