เมนู

เป็นมูลของตัณหา. บทว่า อพฺพุยฺห ได้แก่ ถอนตัณหานั้นพร้อมทั้งราก
ด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต ความว่า ผู้ออกจากตัณหา
จะเรียกว่า ผู้ปรินิพพานแล้ว ก็ควรแล.
จบ อรรถกถาภารสูตรที่ 1

2. ปริญญาสูตร



ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้และความกำหนดรู้



[54] กรุงสาวัตถีฯ ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้และความกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าธรรมที่
ควรกำหนดรู้.
[55] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความกำหนดรู้เป็นไฉน คือ
ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าความกำหนดรู้.
จบ ปริญญาสูตรที่ 2

อรรถกถาปริญญาสูตรที่ 2



ในปริญญาสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริญฺเญยฺเย แปลว่า พึงกำหนดรู้ อธิบายว่า พึงก้าวล่วง
ด้วยดี. บทว่า ปริญฺญํ ได้แก่กำหนดรู้ล่วงส่วน อธิบายว่า ก้าวล่วงด้วยดี.

บทว่า ราคกฺขโย เป็นต้น เป็นชื่อของพระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพาน
นั้นชื่อว่ากำหนดรู้ล่วงส่วน.
จบ อรรถกถาปริญญาสูตรที่ 2

3. ปริชานสูตร



ว่าด้วยผู้ไม่ควรและผู้ควรสิ้นทุกข์



[56] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งเวทนา
ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อสิ้นทุกข์.
[57] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้
เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งรูป จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง
เมื่อกำหนดรู้ เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร
ซึ่งวิญญาณ จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์.
จบ ปริชานสูตรที่ 3

อรรถกถาปริชานสูตรที่ 3



ในปริชานสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อภิชานํ ได้แก่รู้ยิ่ง ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวหมายเอา
ญาตปริญญา ด้วยบทที่ 2 ท่านกล่าวหมายเอาติรณปริญญา ด้วย