เมนู

อรรถกถาวัจฉโคตตสังยุต



พึงทราบวินิจฉัยในวัจฉโคตตสังยุต ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อญฺญาเต แปลว่า เพราะไม่รู้.
พึงทราบความหมายในทุกบทด้วยอำนาจเป็นตติยาวิภัตติ
เหมือนกับดังพรรณนามาฉะนี้. ก็บทเหล่านี้ทุกบทเป็นไวพจน์ของกัน
และกันนั่นเองแล.
ก็แลในสังยุตนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสูตรไว้
11 สูตร ตรัสไวยากรณะไว้ 55 ไวยากรณะ.
จบ อรรถกถาวัจฉโคตตสังยุต

รวมพระสูตรในสังยุตนี้ คือ


1. อัญญาณสูตร 5 สูตร 6-10. อทัสสนสูตร 5 สูตร
11- 15. อนภิสมยสูตร 5 สูตร 16-20. อนนุโพธสูตร 5 สูตร
21-25. อัปปฏิเวธสูตร 5 สูตร 26-30. อสัลลักขณสูตร 5 สูตร
3 -35. อนุปลักขณสูตร 5 สูตร 36-40. อสมเปกขณสูตร 5 สูตร
41-45. อัปปัจจเวกขณสูตร 5 สูตร 46-50. อัปปัจจุปลักขณสูตร
5 สูตร 51-54. อัปปัจจักขกัมมสูตร 4 สูตร 55. วิญญาณอัปปัจ-
จักขกัมมสูตร.

13. สมาธิสังยุต



1. สมาธิสมาปัตติสูตร



[586] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน 4 จำพวกนี้
4 จำพวกเป็นไฉน ? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการ
ตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ 1 บางคนฉลาดใน
การเข้าในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ 1 บางคน
ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ 1
บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการเข้าในสมาธิ 1
ใน 4 จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและ
ฉลาดในการเข้าในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน
สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง 4 จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิด
จากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจาก
เนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใสในจำนวนนั้น หัวเนยใสเขากล่าวว่า
เป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดใน
การเข้าในสมาธิ ก็นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด
และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง 4 จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สมาธิสมาปัตติสูตรที่ 1

อรรกถาสมาธิสังยุต

อรรถกถาสมาธิสมาปัตติสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 1 แห่งสมาธิสังยุต ดังต่อไปนี้ :-