เมนู

อำนาจความพอใจในสัททสัญญา ฯลฯ ในคันธสัญญา ฯลฯ ในรสสัญญา
ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ในธรรมสัญญา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นอันน้อมไปในเนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะ
อบรมแล้ว ย่อมปรากฏว่าควรแก่การงาน ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วย
อภิญญา.
จบ สัญญาสูตรที่ 6

7. เจตนาสูตร



ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต



[505] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจในรูปสัญเจตนา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในสัททสัญเจตนา ฯลฯ ในคันธสัญเจตนา ฯลฯ
ในรสสัญเจตนา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ในธรรมสัญเจตนา
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลส
แห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นอันน้อมไปใน
เนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะอบรมแล้ว ย่อมปรากฏว่าควรแก่การงาน
ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ เจตนาสูตรที่ 7

8. ตัณหาสูตร



ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต



[506] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วย

อำนาจความพอใจในรูปตัณหา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ในคันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา
ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นอันน้อมไปในเนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะ
อบรมแล้ว ย่อมปรากฏว่าควรแก่การงาน ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วย
อภิญญา.
จบ ตัณหาสูตรที่ 8

9. ธาตุสูตร



ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต



[507] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจในปฐวีธาตุ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจในอาโปธาตุ ฯลฯ ในเตโชธาตุ ฯลฯ ในวาโยธาตุ ฯลฯ
ในอากาสธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น
จิตของเธอย่อมเป็นอันน้อมไปในเนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะอบรม
แล้ว ย่อมปรากฏว่า ควรแก่การงาน ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วย
อภิญญา.
จบ ธาตุสูตรที่ 9

10. ขันธสูตร



ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต



[508] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วย