เมนู

และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ผู้ได้สดับแล้ว. เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ฯลฯ (อีก 24 สูตร เหมือนในวรรคที่ 2)
จบ นวาตสูตร

26. อทุกขมสุขีสูตร



ว่าด้วยอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และทั้งสุข



[466] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข หลังจากตายไปแล้ว
ย่อมไม่สลายไป ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของ
ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่
เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่
ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข หลังจากตายไปแล้ว ย่อมไม่สลายไป เมื่อเวทนามีอยู่
ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะ
ถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า
อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข หลังจากตายไปแล้ว ย่อมไม่สลายไป.

[467] ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา ?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[468] ภ. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ รูปทั้งหมดนั้น

เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ใน
ที่ไกลหรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา
แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี...
จบ ทิฏฐิสังยุต

อรรถกถาจตุตถเปยยาลที่ 4



ส่วนเปยยาลที่ 4 ตรัสไว้ด้วยอำนาจปริวัฏฏ์ 3 แล.
จบ อรรถกถาจตุตถเปยยาลที่ 4
จบ อรรถกถาทิฏฐิสังยุต