เมนู

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. สิ่งใดที่ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว
บรรลุแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ แม้สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัย
ในฐานะ 6 เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ใน
ทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อนั้น
อริยสาวกผู้นี้ เราตถาคตเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สัสสตทิฏฐิสูตร

10. อสัสสตทิฏฐิสูตร



ว่าด้วยความเห็นว่าโลกไม่เที่ยง



[435] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร

จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของ
ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ ฯลฯ เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ ฯลฯ
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ฯลฯ
ภ. เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง
ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. สิ่งใดที่ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว
บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยงเล่า ?
ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ฯลฯ.
ภ. เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า
โลกไม่เที่ยง ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัย
ในฐานะ 6 เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ใน
ทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสาวก
ผู้นี้ เราตถาคตเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ อสัสสตทิฏฐิสูตร

8-10 อรรถกถามหาทิฏฐิสูตรเป็นต้น

ถึงสูตรที่ 10



บทว่า อกฏา คือ (กายทั้ง 7) ไม่มีใครสร้าง.
บทว่า อกฏวิธา คือ ไม่มีใครทำการจัดแจง (ให้สร้าง) อธิบายว่า
แม้ที่ใคร ๆ ให้ทำด้วยบอกว่า จงทำอย่างนี้ ก็ไม่มี.
บทว่า อนิมฺมิตา คือ ไม่มีใครเนรมิตแม้ด้วยฤทธิ์.
บทว่า อนิมฺมิตวิธา คือ การจัดแจง ไม่มีใครเนรมิตแล้ว. อธิบาย
ว่า ไม่ใช่ที่ใคร ๆ ควรเนรมิตได้ ปาฐะว่า อนิมฺมิตพฺพา ดังนี้บ้าง.
บทว่า วญฺฌา คือ ไม่มีผล ได้แก่ ไม่ให้เกิดผลอะไร ๆ เหมือน
สัตว์เลี้ยงที่เป็นหมัน และตาลที่เป็นหมัน (ตาลตัวผู้) เป็นต้น1
บทว่า กูฏฏฺฐา ความว่า ยืนหยัดอยู่เหมือนยอดภูเขา (เพราะเหตุนั้น)
จึงชื่อว่า กูฏัฏฐา
บทว่า เอสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา ตั้งอยู่ เป็นเหมือนตั้งอยู่ดุจเสาระเนียด
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า เอสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา อธิบายว่า เสาระเนียดที่ฝังดี
แล้ว ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวฉันใด กายก็ตั้งอยู่ฉันนั้น.
บทว่า น อิญฺชนฺติ ความว่า ไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด
ฉะนั้น
บทว่า น วิปริณมนฺติ ความว่า ไม่ละปกติ.
บทว่า น อญฺญมญฺญํ พฺยาเธนฺติ ความว่า ไม่เบียดเบียนกันและกัน.
บทว่า นาลํ แปลว่า ไม่สามารถ.
1. อรรถกถาเป็น วชฺฌาติ ปํสุวชฺฌา ตาลาทโย วิย. ฉบับพม่าเป็น วญฺฌปสุวญฺฌตาลาทโย วิย.
บาลีเป็น วญฺฌา แปลตามฉบับพม่า