เมนู

สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส
เราตถาคตกล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ กุลปุตตสูตรที่ 4

อรรถกถากุกกุฬวรรค



พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุฬสูตรที่ 1 แห่งกุกกุฬวรรค ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุกฺกุฬํ แปลว่าร้อน คือ ไฟติดโชน. ในสูตรนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสลักษณะของทุกข์ ที่มีความเร่าร้อนมากไว้ว่า
เหมือนกองเถ้า.
ในสูตรที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าแยกตรัสลักษณะเหล่านี้
ทั้งหมดมีอนิจจลักษณะเป็นต้น ไว้ตามอัธยาศัยของบุคคลแล.
จบ อรรถกถากุกกุฬวรรคที่ 4

รวมพระสูตรที่มาในวรรคนี้คือ


1. กุกกุฬสูตร 2. อนิจจสูตรที่ 1 3. อนิจจสูตรที่ 2 4.
อนิจจสูตรที่ 3 5. ทุกขสูตรที่ 1 6. ทุกขสูตรที่ 2 7. ทุกขสูตรที่ 3
8. อนัตตสูตรที่ 1 9. อนัตตสูตรที่ 2 10. อนัตตสูตรที่ 3 11. กุล-
ปุตตสุตรที่ 1 12. กุลปุตตสูตรที่ 2 13. กุลปุตตสูตรที่ 3 14.
กุลปุตตสูตรที่ 4.

ทิฏฐิวรรคที่ 5



1. อัชฌัตติกสูตร



ว่าด้วยเหตุแห่งสุขและทุกข์ภายใน



[346] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร สุขและทุกข์ภายในจึง
เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของ
ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป สุขและ
ทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น เมื่อเวทนามีอยู่... เมื่อสัญญามีอยู่... เมื่อสังขาร
มีอยู่... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ สุขและทุกข์ภายในจึง
เกิดขึ้น.
[347] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สุขและทุกข์ภายในพึงบังเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.