เมนู

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอยู่ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส
เราตถาคตกล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ กุลปุตตสูตรที่ 2

13. กุลปุตตสูตรที่ 3



ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร



[344] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณา
เห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่นี้
ย่อมเป็นธรรมสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา ฯลฯ เราตถาคต
กล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ กุลปุตตสูตรที่ 3

14. กุลปุตตสูตรที่ 4



ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร



[345] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณา
เห็นความเป็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
อยู่นี้ ย่อมเป็นธรรมสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อพิจารณา
เห็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อม
กำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส
เราตถาคตกล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ กุลปุตตสูตรที่ 4

อรรถกถากุกกุฬวรรค



พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุฬสูตรที่ 1 แห่งกุกกุฬวรรค ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุกฺกุฬํ แปลว่าร้อน คือ ไฟติดโชน. ในสูตรนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสลักษณะของทุกข์ ที่มีความเร่าร้อนมากไว้ว่า
เหมือนกองเถ้า.
ในสูตรที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าแยกตรัสลักษณะเหล่านี้
ทั้งหมดมีอนิจจลักษณะเป็นต้น ไว้ตามอัธยาศัยของบุคคลแล.
จบ อรรถกถากุกกุฬวรรคที่ 4

รวมพระสูตรที่มาในวรรคนี้คือ


1. กุกกุฬสูตร 2. อนิจจสูตรที่ 1 3. อนิจจสูตรที่ 2 4.
อนิจจสูตรที่ 3 5. ทุกขสูตรที่ 1 6. ทุกขสูตรที่ 2 7. ทุกขสูตรที่ 3
8. อนัตตสูตรที่ 1 9. อนัตตสูตรที่ 2 10. อนัตตสูตรที่ 3 11. กุล-
ปุตตสุตรที่ 1 12. กุลปุตตสูตรที่ 2 13. กุลปุตตสูตรที่ 3 14.
กุลปุตตสูตรที่ 4.