เมนู

อรรถกถาอวิชชาวรรค



อรรถกถาสูตรที่ 1 ถึงสูตรที่ 10 เริ่มด้วยสมุทยธรรมสูตร



อวิชชาวรรค

มีความหมายง่ายทั้งนั้น. ก็ในวรรคนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสสัจจะ 4 ไว้ในทุก ๆ สูตร (คือแต่สูตรที่ 1 - ถึง
สูตรที่ 10) แล.
จบ อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ


1. สมุทยธรรมสูตรที่ 1 2. สมุทยธรรมสูตรที่ 2 3. สมุทย-
ธรรมสูตรที่ 2 4. อัสสาทสูตรที่ 1 5. อัสสาทสูตรที่ 2 6. สมุทย-
ธรรมสูตรที่ 1 7. สมุทยธรรมสูตรที่ 2 8. โกฏฐิตสูตรที่ 1
9. โกฏฐิตสูตรที่ 2 10. โกฏฐิตสูตรที่ 3.

กุกกุฬวรรคที่ 4



1. กุกกุฬสูตร



ว่าด้วยขันธ์ 5 เป็นของร้อน



[334] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นของร้อน
เวทนาเป็นของร้อน สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณ
เป็นของร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี.
จบ กุกกุฬสูตรที่ 1

2. อนิจจสูตรที่ 1



ว่าด้วยละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง



[335] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ? รูปเป็นสิ่ง
ที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย เวทนา... สัญญา...
สังขาร... วิญญาณ
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะใน
วิญญาณนั้นเสีย.
จบ อนิจจสูตรที่ 1