เมนู

2. สมุทยธรรมสูตรที่ 2



ว่าด้วยความหมายของอวิชชา



[322] สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโกฏฐิตะ
อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่าน-
พระมหาโกฏฐิตะ ออกจากที่พักในเวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร
ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชา เป็นไฉนหนอแล และบุคคล
เป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียร
เท่านี้แล.
จบ สมุทยธรรมสูตรที่ 2

3. สมุทยธรรมสูตรที่ 3



ว่าด้วยความหมายของวิชชา



[323] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ
อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
มหาโกฏฐิตะออกจากที่พักในเวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
ฯลฯ แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร
ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็น
ผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ?

ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สมุทยธรรมสูตรที่ 3

4. อัสสาทสูตรที่ 1



ว่าด้วยความหมายของอวิชชา



[324] เหตุเกิด (ของพระสูตร) ก็เป็นเช่นนั้นแหละ. ท่าน
พระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่าน-
พระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา
ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
แล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งคุณ โทษ และอุบาย
เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา... แห่งสัญญา... แห่งสังขาร...
แห่งวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็น
ผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ อัสสาทสูตรที่ 1

5. อัสสาทสูตรที่ 2



ว่าด้วยความหมายของวิชชา



[325] เหตุเกิด (ของพระสูตร) ก็เป็นเช่นนั้นแหละ. ท่าน-
พระมหาโกฏฐิตะ
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านพระสารีบุตร