เมนู

ไม่ใช่ของตน พึงใส่ใจว่าทรุดโทรม เพราะหมายความว่า ย่อยยับ
พึงใส่ใจว่าว่าง เพราะหมายความว่า ว่างจากสัตว์ พึงใส่ใจว่า เป็นอนัตตา
เพราะไม่มีอัตตา.
ในที่นี้พึงทราบอธิบายเพิ่มเติมอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงการใส่ใจว่าไม่เที่ยง ด้วยสองบทว่า อนิจฺจโต ปิโลกโต (ไม่เที่ยง
แตกสลาย) ตรัสถึงการใส่ใจว่า เป็นอนัตตา ด้วยสองบทว่า สุญฺญโต
อนตฺตโต
(ว่าง, เป็นอนัตตา) ตรัสถึงการใส่ใจว่าเป็นทุกข์ ด้วยบทที่เหลือ.
บทที่เหลือในพระสูตรนี้ มีความหมายง่ายแล.
จบ อรรถกถาสีลสูตรที่ 10

1. สุตวาสูตร



ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย



[315] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโกฏฐิตะ
อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหา-
โกฏฐิตะออกจากที่พักในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ
ได้ถามว่า ท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำธรรม
เหล่าไหนไว้ใจโดยแยบคาย ?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว
ควรกระทำอุปาทานขันธ์ 5 ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นอนัตตา อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน ?
อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ท่านโกฏฐิตะ
ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ไว้ในใจ

โดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นอนัตตา ท่าน-
โกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว กระทำ
อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โดยเป็นอนัตตา พึงกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
[316] โก. ท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบันเล่า
ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย ?
สา. ท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบันก็ควรทำอุปาทานขันธ์ 5
เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โดย
เป็นอนัตตา ท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้คือ ภิกษุผู้เป็น
โสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นอนัตตา พึงกระทำให้แจ้งซึ่ง
สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล.
[317] โก. ท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เล่า
ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย ?
สา. ท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรทำอุปาทานขันธ์ 5
เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นอื่น
เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา ท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึง
ทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์
และแม้ถึงธรรมเหล่านี้ ที่ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะเท่านั้น.
จบ สุตวาสูตรที่ 11

อรรถกถาสุตวาสูตรที่ 11



ในสุตวาสูตรที่ 11 ก็เหมือนกัน คือ มีความหมายง่าย. แต่ว่า
ในสูตรที่ 10 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาริสุทธิศีล ไว้ด้วยบทว่า
สีลวตา ในสูตรที่ 11 นี้ ตรัสกรรมฐานไว้ด้วยบทว่า สุตวตา นี้แล
เป็นข้อที่แตกต่างกัน.
จบ อรรถกถาสุตวาสูตรที่ 11

12. กัปปสูตรที่ 1



ว่าด้วยการรู้การเห็น เป็นเหตุไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย



[318 ] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่
อย่างไรหนอแล จึงจะไม่มี อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มี
ใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัปปะ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี
มีอยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกเห็นสิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา
อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนกัปปะ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่