เมนู

บทว่า เอตฺตาวตา จ อวิชฺชาคโต โหติ ความว่า ด้วยเหตุที่เป็น
ประกอบด้วยอวิชชา อันเป็นความไม่รู้ในสัจจะ 4 นี้ ภิกษุจึงชื่อว่า
ตกอยู่ในอวิชชา.
จบ อรรถกถาอวิชชาสูตรที่ 1

2. วิชชาสูตร



ว่าด้วยความหมายของวิชชา



[301] กรุงสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า
วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลผู้ประกอบด้วย
วิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับ
แล้วในโลกนี้ รู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งความเกิดรูป รู้ชัดซึ่งความดับรูป
รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับรูป รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสัญญา
ฯลฯ รู้ชัดซึ่ง สังขาร ฯลฯ รู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความเกิด
วิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับ
วิญญาณ ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่าวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ วิชชาสูตรที่ 2

อรรถกถาวิชชาสูตรที่ 2



แม้ในวิชชาสูตรที่ 2 ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน)
นี้แหละ
จบ อรรถกถาวิชชาสูตรที่ 2

3. ธรรมกถิกสูตรที่ 1



ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่า พระธรรมกถึก



[302] กรุงสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า
พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ก่อนภิกษุ หากว่าภิกษุแสดง
ธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุธรรมกถึก
หากว่าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า
ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หากว่า ภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุ
นิพพานในปัจจุบัน.

จบ ธรรมกถิกสูตรที่ 1