เมนู

บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบ ทุติยหลิททิการนิสูตรที่ 4

อรรถกถาทุติยหลิททิการนิสูตรที่ 4



ในทุติยหลิททิกานิสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า สกฺกปญฺเห นี้ท่านกล่าวไว้แล้วทั้งในจูฬสักกปัญหา
และทั้งในมหาสักกปัญหา. บทว่า ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตา ได้แก่ น้อมไปใน
พระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาด้วยผลวิมุตติ ซึ่งมีพระนิพพาน
นั้นเป็นอารมณ์. บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺฐา ได้แก่ เสร็จ คือสำเร็จด้วยดี
เหลือเกิน แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเดียวกันนี้.
จบ อรรถกถาหลิททิกานิสูตรที่ 4

5. สมาธิสูตร



ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญหา



[27] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเจริญสมาธิ ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อม

รู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป
ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา
ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.
[28] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไร
เป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็น
ความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่
ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร ย่อม
เพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง
ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป นั่นเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน
ซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็น
อุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็น
ปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป
นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็นความเกิด
แห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.

[29] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไร
เป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็น
ความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง
ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ
อยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูป
ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ
ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่
เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร... ใน
วิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทาน
จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา
นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สมาธิสูตรที่ 5

อรรถกถาสมาธิสูตรที่ 5



ในสมาธิสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากความเป็น