เมนู

[277] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือความดับแห่งสักกายะ
คืออะไร ? คือความดับโดยการสำรอกซึ่งตัณหานั้นนั่นแหล่ะไม่มีเหลือ
การสละ การสลัดทิ้ง การปล่อยไป การไม่อาลัยใยดี ภิกษุทั้งหลาย
นี้เราตถาคตเรียกว่า ส่วนคือความดับแห่งสักกายะ.
[278] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งสักกายะ คืออะไร ? คืออริยมรรคมีองค์ 8 นี้เอง ไต้แก่ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ส่วนคือ-
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสักกายะ. ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือส่วน 4 ส่วน.
จบ อันตสูตรที่ 1

อรรถกถาจุลลปัณณาสก์



อรรถกถาอันตวรรค



อรรถกถาอันตสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในอันตสูตรที่ 1 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนฺตา ได้แก่ส่วนทั้งหลาย. สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ผู้จะตรัสรู้ได้ ด้วยคำว่า อนฺโต
โดยทรงประกอบขันธ์ 5 เข้ากับอริยสัจ 4.
จบ อรรถกถาอันตสูตรที่ 1

2. ทุกขสูตร



ว่าด้วยอริยสัจ 4



[279] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจัก
แสดงทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ-
แห่งทุกข์ แก่เธอทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงฟัง.

[280] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์คืออะไร ? ทุกข์มีคำที่จะพึง
กล่าวว่า คือ อุปาทานขันธ์ 5. อุปาทานขันธ์ 5 นั้นคืออะไร ? คือ
อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย นี้
เราตถาคตเรียกว่า ทุกข์.
[281] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์คืออะไร ?
คือตัณหานี้ ที่ให้เกิดในภพใหม่ ไปด้วยกันกับความกำหนัดด้วยอำนาจ
แห่งความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย นี้ เราตถาคตเรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[282 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์คืออะไร ?
คือความดับโดยการสำรอกตัณหานั้น นั่นแหละไม่มีเหลีอ การสละ การ
สลัดทิ้ง การปล่อยไป การไม่อาลัยใยดี.
ภิกษุทั้งหลาย
นี้เราตถาคตเรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[283 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
คืออะไร ? คืออริยมรรคมีองค์ 8 นี้เอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ ทุกขสูตรที่ 2