เมนู

อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนยอดเรือน.
กุศลธรรมที่เป็นไปภูมิ 4 เปรียบเหมือนกลอนเรือน.
อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือน
ยอดแห่งกลอนทั้งหมด เป็นยอดของกูฏาคาร.
ถามว่า ก็อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ (เท่านั้น)
มิใช่หรือ ? (แล้ว) กลับมาเป็นยอดของโลกุตตรธรรมได้อย่างไร ?

ตอบว่า อนิจจสัญญาพึงทราบว่า เป็นยอด (ของโลกุตตรธรรม
ทั้งหลาย) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ไดโลกุตตรธรรมแม้เหล่านั้น.
พึงทราบข้ออุปมาเปรียบเทียบในอุปมาทั้งหมดโดยอุบายนี้
ก็ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกิจของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา
3 ข้อแรก ตรัสพลังของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา 3 ข้อหลังแล.
จบ อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาปุปผวรรคที่ 5
จบ มัชฌิมปัณณาสก์


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ


1. นทีสูตร 2. ปุปผสูตร 3. เผณปิณฑสูตร 4. โคมยสูตร
5. นขสิขาสูตร 6. สามุททกสูตร 7. คัททูลสูตรที่ 1 8. คัททูลสูตรที่ 2
9. นาวาสูตร 10. สัญญาสูตร.

รวมวรรคที่มีในมัชฌิมปัณณาสก์นั้นคือ


1. อุปายวรรค 2. อรทันตวรรค 3. ขัชชนียวรรค 4. เถรวรรค
5. ปุปผวรรค จึงเรียกว่าเป็นทุติยปัณณาสก์ ในขันธสังยุตต์นั้น.