เมนู

การที่ภิกษุผู้เริ่มเรียนวิปัสสนากรรมฐาน แล้วเจริญวิปัสสนา
โดยเป็นรูปสัตตกะ (หมวด 7 แห่งรูป) เป็นต้น เมื่อกรรมฐานแจ่มชัด ๆ
เข้า วันหนึ่งได้ฤดูเป็นสัปปายะเป็นต้น นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว (ไม่ลุกขึ้นอีก)
แล้วได้บรรลุอรหัตตผล พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือมีน้ำฝนเต็มลำ.
การที่ภิกษุนั้น สิ้นสังโยชน์แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยังไม่ได้
อนุเคราะห์มหาชน ดำรงอยู่ตราบอายุขัย พึงเห็นว่าเปรียบเหมือนการ
ที่เรือซึ่งมีเชือกผูกเปื่อย แต่ก็ยังจอดอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง.
เวลาที่พระขีณาสพปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
โดยการขัดสมาธิครั้งเดียว เพราะอุปาทินนกขันธ์แตกสลายไป (กิเลส
สิ้นแล้ว ปรินิพพานทันที) แล้วเข้าถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้ พึงเห็น
ว่า เปรียบเหมือนเวลาที่เรือมีเชือกผูกเปื่อย กร่อนขาดไปทีละน้อย
จนเข้าถึงความเป็นสภาพหาบัญญัติมิได้ (จนเรียกว่าเชือกไม่ได้).
จบ อรรถกถานาวาสูตรที่ 9

10. สัญญาสูตร



ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา



[263] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ครอบงำ
ภวราคะทั้งปวงได้ ครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ จะถอน อัสมิมานะ
ทั้งปวงขึ้นได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนา เมื่อจะใช้ไถไหญ่
ไถนา ก็จะไถดะรากไม้ ที่แตกยื่นออกไป ทั้งหมดเสีย แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก

แล้ว จะครอบงำ กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชา ทุก อย่าง
จะถอนอัสมิมานะทั้งหมดขึ้น.
[264] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายเกี่ยวหญ้า
มุงกระต่ายแล้ว จะดาย จะฟาด จะสลัดทิ้ง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[265] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดตรงขั้ว มะม่วง
ทั้งหลายที่ติดอยู่กับขั้ว ก็จะหลุดออกไปตามขั้วนั้น แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ฯลฯ.
[266] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนของเรือนยอดทั้งหมด
ที่ชี้ตรงไปที่ยอด ชอนไปที่ยอด ไปรวมกันอยู่ที่ยอด ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่ากลอนเหล่านั้น ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้น
เหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[267] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นกะลำพัก ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่ากลิ่นที่เกิดจากรากทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[268] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จันทน์แดง ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าไม้ที่มีกลิ่นที่แก่นทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[269] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดอกมะลิ ชาวโลกกล่าวว่า

เป็นเลิศกว่าดอกไม้ที่มีกลิ่นที่ดอกทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[270] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจ้าประเทศราชทั้งหมดย่อมตาม
เสด็จพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเลิศ
กว่าเจ้าประเทศราชเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[271] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างของดวงดาวทุกดวง
ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของ
ดวงจันทร์ ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[272] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย เมื่อท้องฟ้าบริสุทธิ์
แจ่มจำรัส ปราศจากเมฆหมอก พระอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องงาจะส่องแสง
แผดแสงผ่านอากาศ ผ่านความมืดทั้งหมดแล้วเจิดจ้าอยู่ แม้ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะครอบงำ กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชา
ทุกอย่าง จะถอนอัสมิมานะทั้งมวลได้.
[273] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะครอบงำกามราคะทั้งหมดได้
ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งหมดขึ้นได้ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับสูญแห่งรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้...

สัญญาอย่างนี้... สังขารอย่างนี้... วิญญาณอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จะครอบงำ
กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชาทุกอย่างได้ จะถอนอัสมิมานะ
ทั้งหมดขึ้นได้.
จบ สัญญาสูตรที่ 10
จบ ปุปผวรรคที่ 5


อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนิจฺจสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ภาวนา
อยู่ว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง.
บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ จักทำให้ (กามราคะ) ทั้งหมดสิ้นไป
บทว่า สพฺพํ อสฺมิมานํ ได้แก่ อัสมิมานะทั้ง 9 อย่าง.
บทว่า มูลสนฺตานกานิ ได้แก่ รากไม้ที่แตกยื่นออกไป.
ก็ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนไถใหญ่.
กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนรากไม้ที่แตกออกไปทั้งเล็กทั้งใหญ่
พระโยคีผู้เจริญอนิจจสัญญาทำลายกิเลสได้ด้วยญาณอันเกิดจาก
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนชาวนาไถนาทำลายรากไม้เหล่านั้นได้ด้วยไถ.
บทว่า โอธุนาติ แปลว่า ดาย (กำจัดข้างล่าง)