เมนู

การที่ภิกษุผู้เริ่มเรียนวิปัสสนากรรมฐาน แล้วเจริญวิปัสสนา
โดยเป็นรูปสัตตกะ (หมวด 7 แห่งรูป) เป็นต้น เมื่อกรรมฐานแจ่มชัด ๆ
เข้า วันหนึ่งได้ฤดูเป็นสัปปายะเป็นต้น นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว (ไม่ลุกขึ้นอีก)
แล้วได้บรรลุอรหัตตผล พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือมีน้ำฝนเต็มลำ.
การที่ภิกษุนั้น สิ้นสังโยชน์แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยังไม่ได้
อนุเคราะห์มหาชน ดำรงอยู่ตราบอายุขัย พึงเห็นว่าเปรียบเหมือนการ
ที่เรือซึ่งมีเชือกผูกเปื่อย แต่ก็ยังจอดอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง.
เวลาที่พระขีณาสพปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
โดยการขัดสมาธิครั้งเดียว เพราะอุปาทินนกขันธ์แตกสลายไป (กิเลส
สิ้นแล้ว ปรินิพพานทันที) แล้วเข้าถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้ พึงเห็น
ว่า เปรียบเหมือนเวลาที่เรือมีเชือกผูกเปื่อย กร่อนขาดไปทีละน้อย
จนเข้าถึงความเป็นสภาพหาบัญญัติมิได้ (จนเรียกว่าเชือกไม่ได้).
จบ อรรถกถานาวาสูตรที่ 9

10. สัญญาสูตร



ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา



[263] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ครอบงำ
ภวราคะทั้งปวงได้ ครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ จะถอน อัสมิมานะ
ทั้งปวงขึ้นได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนา เมื่อจะใช้ไถไหญ่
ไถนา ก็จะไถดะรากไม้ ที่แตกยื่นออกไป ทั้งหมดเสีย แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก