เมนู

ว่าง คือเปล่า เพราะไม่มีกามเหล่านั้น.
บทว่า ปุรกฺขราโน ได้แก่ มุ่งเพ่งแต่โทษ. ในบทว่า เอวํรูโป สิยํ
เป็นต้น ได้แก่ ปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ในบรรดารูปที่สูง
และต่ำ ดำและขาวเป็นต้น ปรารถนาว่า ในเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้น
เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีเวทนาอย่างนั้น ในสัญญามีสัญญาที่กำหนดด้วย
นีลกสิณเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีสัญญาอย่างนั้น ในสังขารมี
ปุญญาภิสังขารเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีสังขารอย่างนั้น ในวิญญาณ
มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีวิญญาณอย่างนั้น. บทว่า
อปุรกฺขราโน ได้แก่ไม่มุ่งแต่โทษ.
บทว่า สหิตมฺเม อสหิตนฺเต ได้แก่ คำของท่านไม่มีประโยชน์
ไม่สละสลวย คำของเรามีประโยชน์ สละสลวย หวาน. บทว่า อธิจิณฺ-
ณนฺเต วิปราวตฺตํ
ได้แก่ คำพูดของท่านที่สะสมคล่องแคล่วดีมานาน
ทั้งหมดนั้นพอมาถึงวาทะของเราก็เปลี่ยนแปรกลับกันโดยทันที. บทว่า
อาโรปิโต เต วาโท ได้แก่ โทษของท่านเรายกขึ้นแล้ว. บทว่า จร
วาทปฺปโมกฺขาย
ความว่า ท่านจงท่องเที่ยวไปเข้าหาอาจารย์นั้น ๆ
เสาะหาให้ดียิ่งขึ้นไปเพื่อจะปลดเปลื้องวาทะนี้. บทว่า นิพฺเพเธหิ วา สเจ
ปโหสิ
ได้แก่ ถ้าตนเองสามารถ ท่านก็จงกล่าวแก้เสียในที่นี้เลยทีเดียว.
จบ อรรถกถาหลิททิการนิสูตรที่ 3

4. หลิททิการนิสูตร ที่ 2



ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน



[25] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้

เมืองกุรรฆรนคร อวันตีรัฐ ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไป หา
ท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหาว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นแล้ว
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จ
ล่วงส่วน เป็นผู้มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี
บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ดังนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร.
[26] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี ความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง
ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ จิต ท่าน
กล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะ
ความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้น
เหล่านั้น ดู่ก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน
ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยืดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัย
แห่งจิตเหล่าใด ในเวทนาธาตุ... ในสัญญาธาตุ... ในสังขารธาตุ...
ในวิญญาณธาตุ จิต ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะ
ความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความสละ เพราะความ
สละคืน ซึ่งความพอใจ เป็นต้นเหล่านั้น ดูก่อนคฤหบดี พระภาษิตที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในสักกปัญหาว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด
พ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น
ผู้สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี

บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบ ทุติยหลิททิการนิสูตรที่ 4

อรรถกถาทุติยหลิททิการนิสูตรที่ 4



ในทุติยหลิททิกานิสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า สกฺกปญฺเห นี้ท่านกล่าวไว้แล้วทั้งในจูฬสักกปัญหา
และทั้งในมหาสักกปัญหา. บทว่า ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตา ได้แก่ น้อมไปใน
พระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาด้วยผลวิมุตติ ซึ่งมีพระนิพพาน
นั้นเป็นอารมณ์. บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺฐา ได้แก่ เสร็จ คือสำเร็จด้วยดี
เหลือเกิน แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเดียวกันนี้.
จบ อรรถกถาหลิททิกานิสูตรที่ 4

5. สมาธิสูตร



ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญหา



[27] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเจริญสมาธิ ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อม