เมนู

วัฏฏะ ผู้อาศัยโซ่ตรวนคือทิฏฐิจึงถูกผูกไว้ที่เสาคือ สักกายะ ด้วยเชือก
คือตัณหา อาศัยขันธปัญจกะเป็นไปอยู่ในอิริยาบถทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง
เพราะเหตุที่จิตนี้เศร้าหมองเพราะราคะ โทสะ โมหะ มานาน.

สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง


บทว่า จิตฺตสงฺกิเลสา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลายแม้อาบน้ำดีแล้ว
ก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมองนั่นแล แต่ว่าแม้ร่างกายจะ
สกปรกก็ชื่อว่าผ่องแผ้วได้เพราะจิตผ่องแผ้ว.
ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณ
อันยิ่งใหญ่มิได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมอง สัตว์
ทั้งหลายจึงชื่อว่า เศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์ สัตว์
ทั้งหลายจึงชื่อว่า บริสุทธิ์.
(แต่) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหา
พระคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง
สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์
สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย.

บทว่า จรณํ นาม จิตฺตํ ได้แก่ วิจรณจิต (ภาพเขียน).
พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิชื่อว่า สังขา มีอยู่ พวกเขาให้สร้างแผ่นผ้าแล้ว
ให้ช่างเขียนภาพแสดงสมบัติ และวิบัติ นานัปการ โดยเป็นสวรรค์ เป็น
นรก ลงในแผ่นภาพนั้น แสดง (ถึงผลของกรรม) ว่า ทำกรรมนี้แล้ว

จะได้รับผลนี้ ทำกรรมนี้แล้ว จะได้รับผลนี้ ถือเอาจิตรกรรมนั้นเที่ยวไป1.
บทว่า จิตฺเตเนว จินฺติตํ ความว่า ชื่อว่า อันจิตรกร (ช่างเขียน)
ให้สวยงามแล้วด้วยจิต เพราะคิดแล้วจึงเขียน2.
บทว่า จิตฺตญฺเญว จิตฺตตรํ ความว่า จิตที่แสวงหาอุบายของ
จิตนั้น วิจิตรกว่าจิตที่ชื่อว่า จรณะแม้นั้น.
บทว่า ติรจฺฉานคตา ปาณา จิตฺเตเนว จินฺติตา ความว่า สัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้นวิจิตรแล้ว3 เพราะจิตที่เป็นเหตุให้ทำกรรมนั่นเอง.
ก็สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ มีนกกระจอกและนกกระทาเป็นต้น ที่จะชื่อว่า
ประมวลเอาจิตที่เป็นเหตุให้ทำกรรมนั้นมาโดยคิดว่า เราทั้งหลายจัก
วิจิตรอย่างนี้ไม่มีเลย. กรรมต่างหากชักนำไปสู่กำเนิด. การที่สัตว์
เหล่านั้นสวยงาม ก็โดยมีกำเนิดเป็นมูล. จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายที่เข้าถึง
กำเนิดแล้ว ย่อมวิจิตรเหมือนกับสัตว์ที่เกิดอยู่ในกำเนิดนั้น ๆ บัณฑิต
พึงทราบว่า ความวิจิตรสำเร็จมาแต่กำเนิด กำเนิดสำเร็จมาแต่กรรม
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาว่าจิตนี้ เป็นสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิด
ร่วมกัน) จึงพึงทราบว่า มีอารมณ์อันวิจิตรกว่าความวิจิตรของสัตว์
1. ปาฐะว่า นโข นาม พฺราหฺมณปาสณฺฑิกา โหนฺติ เต ปน โกฏฐกํกตฺวา ตตฺถ นานปฺ-
ปการา สุคติทุคฺคติวเสน สมฺปตฺติวิปตติโย ลิขาเปตฺวา อิทํ กมฺมํ กตฺวา อิทํ ปฏิลภติ อิทํกตฺวา
อิทนฺติ ทสฺเสนฺโต ตํ จิตฺตํ คเหตฺวา วิจรติ. ฉบับพม่าเป็น สงฺขา นาม พฺราหฺมณปาสญฺฑิกา โหนฺติ,
เต ปฏโกฏฺฐกํ กตฺวา ตตฺถ นานปฺปการา สุคติทุคฺคติวเสน สมฺปตฺติวิปตฺติโย เลขาเปตฺวา อิทํ
กมฺมํ กตฺวา อิทํ ปฏิลภติ อิทํ กตฺวาอทนฺติ ทสฺเสนฺตา ตํ จิตฺตํ คเหตฺวา วิจรติ. แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า จิตฺตกาเรน จินฺเตตฺวา เอกคฺคตาจิตฺเตน จินฺติตํ. ฉบับพม่าเป็น จิตฺตกาเรน
จินฺเตตฺวา กตตฺตา จิตฺเตน จินฺติตํ นาม. แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า จินฺติตา ฉบับพม่าเป็น จิตฺติตา แปสตามฉบับพม่า.

เดียรัจฉานทั้งหลาย เพราะวิจิตรด้วยสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมกัน)
เพราะวิจิตรด้วยวัตถุ (ที่อาศัย) เพราะวิจิตรด้วยทวาร เพราะวิจิตร
ด้วยอารมณ์ ทั้งเพราะให้สำเร็จความวิจิตรเป็นอเนก เช่น เพศต่าง ๆ กัน
สัญญาต่าง ๆ กัน โวหารต่าง ๆ กัน เป็นต้น ซึ่งมีกรรมชนิดต่าง ๆ กัน
เป็นมูล.
บทว่า รชโก ได้แก่ ช่างที่เขียนรูปด้วยสี ลงในวัตถุทั้งหลาย
ก็ช่างนั้น (ถ้า) ไม่ฉลาด ก็จะเขียนรูปได้ไม่น่าพอใจ (แต่ถ้า) ฉลาด
ก็เขียนรูปได้ น่าพอใจ สวยน่าดูฉันใด. ปุถุชนก็เป็นอย่างนั้นแหละ
คือย่อมยังรูปที่ผิดปกติอันเว้นจากคุณสมบัติ มีความถึงพร้อมด้วย
จักษุเป็นต้น ให้เกิดขึ้นด้วยอกุศลจิต หรือด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
ย่อมยังรูปที่สวยงามอันถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความถึงพร้อมด้วย
จักษุเป็นต้น ให้เกิดขึ้นด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุต.
จบ อรรถกถาคัททูลสูตรที่ 2

9. นาวาสูตร



ว่าด้วยความสิ้น และไม่สิ้นไปแห่งอาสวะ



[260] กรุงสาวัตถี. ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ไม่กล่าว
ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่
ภิกษุทั้งหลายเมื่อรู้ เมื่อเห็นอะไร จึงมีความสิ้นอาสวะ ? เมื่อบุคคล
รู้รูปอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งรูปอย่างนี้
เวทนาอย่างนี้... สัญญาอย่างนี้... สังขารอย่างนี้... วิญญาณอย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งวิญญาณอย่างนี้