เมนู

อย่างหนึ่ง) แต่ครั้นรวมเจตนาเป็นต้นเข้าแล้ว จึงเรียกว่าสังขารขันธ์
อย่างเดียว เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์เป็นเหมือนต้นกล้วยอย่างนี้บ้าง
บทว่า จกฺขุมา ปุริโส ความว่า มีจักษุดี ด้วยจักษุทั้งสองคือ
มังสจักษุ และ ปัญญาจักษุ. อธิบายว่า แม้มังสจักษุของบุรุษนั้นก็บริสุทธิ์
ปราศจากต้อต่อมก็ใช้ได้ แม้ปัญญาจักษุ ก็สามารถมองเห็นว่าไม่มี
สาระก็ใช้ได้.

วิญญาณ


แม้วิญญาณก็ชื่อว่า เปรียบเหมือน มายา เพราะหมายความว่า
ไม่มีสาระ อนึ่ง ชื่อว่าเปรียบเหมือนมายา เพราะหมายความว่าจับคว้า
ไม่ได้.
เปรียบเหมือนว่า มายา ปรากฏเร็ว ชั่วเวลาเล็กน้อย1 ฉันใด
วิญญาณก็ฉันนั้น เพราะว่าวิญญาณนั้น เป็นของมีชั่วเวลาน้อยกว่า และ
ปรากฏเร็วกว่ามายานั้น ก็คนจึงเป็นเหมือนเดินมา เป็นเหมือนยืนอยู่
(และ) เป็นเหมือนนั่ง ด้วยจิตดวง (เดียวกัน) นั้นนั่นแล.
แต่ว่า ในเวลาไป จิตเป็นดวงหนึ่ง ในเวลามาเป็นต้น จิตเป็นอีก
ดวงหนึ่ง วิญญาณเป็นเหมือนมายาอย่างนี้บ้าง.
อนึ่ง มายาย่อมล่อล่วงมหาชน ให้มหาชนยึดถือ อะไร ๆ ต่าง ๆ
ว่า นี้ ทองคำ นี้เงิน นี้แก้วมุกดา แม้วิญญาณก็ล่อลวงมหาชน ให้
มหาชนยึดถือว่า เป็นเหมือนเดินมา เป็นเหมือนยืนอยู่ (และ) เป็นเหมือน
นั่งอยู่ด้วย จิต (ดวงเดียวกัน) นั้น นั่นแล ในเวลามา จิตก็เป็นดวงหนึ่ง
1. ปาฐะว่า อิตรา ฉบับพม่าเป็น อิตฺตรา แปลตามฉบับพม่า.

ในเวลาไปเป็นต้น จิตก็เป็นอีกดวงหนึ่ง วิญญาณเป็นเหมือนมายา
อย่างนี้บ้าง.

แก้คาถาสรูป


บทว่า ภูริปญฺเญน ความว่า มีปัญญาละเอียด และมีปัญญา
กว้างขวาง ไพบูลย์. บทว่า อายุ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. บทว่า อุสฺมา
ได้แก่ เตโชธาตุเกิดจากกรรม. บทว่า ปรภตฺตํ ได้แก่ เป็นเหยื่อ
ของหมู่หนอนเป็นต้น ชนิดต่าง ๆ. บทว่า เอตาทิสายํ สนฺตาโน ความว่า
ประเพณีของผู้ตายนี้เป็นเช่นนี้ จะสืบต่อกันไป จนกว่าจะถึงป่าช้า.
บทว่า มายายํ พาลลาปินี ความว่า ขันธ์นี้นั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์
นี้ชื่อว่า เป็นมายาที่มหาชนผู้โง่เขลา พร่ำเพ้อถึง. บทว่า วธโก ความว่า
เพชฌฆาต กล่าวคือขันธ์นี้ เป็นได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยการ
ฆ่ากันเอง 1 โดยพระบาลีว่า1 เมื่อขันธ์มีอยู่ ผู้ฆ่าก็ปรากฏดังนี้ 1.
อธิบายว่า ปฐวีธาตุอย่างเดียว2 เมื่อแตกสลายก็พาเอาธาตุที่เหลือ
แตกสลายไปด้วย ธาตุทั้งหลายมีอาโปธาตุเป็นต้น ก็เหมือนกัน.
ส่วนรูปขันธ์ เมื่อแตกสลาย ก็พาเอาอรูปขันธ์แตกสลายไปด้วย
ในอรูปขันธ์ก็เหมือนกัน คือ เวทนาเป็นต้น (เมื่อแตกสลาย) ก็พาเอา
สัญญาเป็นต้น (แตกสลายไปด้วย).
1. ปาฐะว่า ปญฺญายติปิ ฉบับพม่าเป็น ปญฺญายตีติปิ แปลตามฉบับพม่า.
2.ปาฐะว่า เอตาหิ ฉบับพม่าเป็น เอกาหิ แปลตามฉบับพม่า