เมนู

อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า พยับแดดย่อมหลอกล่อคนจำนวนมาก
ให้หลง ให้พูดว่า ปรากฏเหมือนแม่น้ำมีน้ำเต็ม ฉันใด แม้สัญญาก็ฉันนั้น
ย่อมหลอกล่อคนจำนวนมากให้หลงให้พูดว่า รูปนี้สีเขียวสวยงาม
เป็นสุข เที่ยง.
แม้ในรูปสีเหลืองเป็นต้นก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน)
นี้แล. สัญญาชื่อว่าเหมือนกับพยับแดด เพราะทำให้หลงอย่างนี้บ้าง.

สังขาร


บทว่า อกุกฺกุชกชาตํ ได้แก่ ไม่มีแก่นเกิดอยู่ในภายใน.
แม้สังขารทั้งหลายก็ชื่อว่าเป็นเหมือนต้นกล้วย เพราะอรรถว่า ไม่มี
สาระ (แก่น) อนึ่ง ชื่อว่า เป็นเหมือนต้นกล้วย เพราะอรรถว่า
จับคว้าไม่ได้.
เปรียบเหมือนว่า ใคร ๆ ไม่สามารถจะจับคว้าอะไร ๆ จาก
ต้นกล้วยแล้วนำเข้าไปใช้ประโยชน์เป็นกลอนเรือนเป็นต้น แม้นำเข้าไป
ใช้ประโยชน์แล้ว ก็จะไม่เป็นอย่างนั้น (ไม่เป็นไปตามประสงค์) ฉันใด
แม้สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น ใคร ๆ ไม่สามารถจะยึดถือว่าเที่ยงเป็นต้นได้
แม้ยึดถือแล้วก็ไม่เป็นอย่างนั้น.
อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ต้นกล้วยเป็นที่รวมของกาบจำนวนมาก
ฉันใด สังขารทั้งหลายแม้ฉันนั้น เป็นที่รวมของธรรมมาก.
อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ต้นกล้วยมีลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
กาบภายนอกสีเป็นอย่างหนึ่ง กาบใน ๆ ถัดจากกาบนั้นเข้าไปก็มี
สีเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฉันใด แม้ในสังขารขันธ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ผัสสะมีลักษณะเป็นอย่างหนึ่ง (เจตนาเป็นต้นก็มีลักษณะเป็นอีก

อย่างหนึ่ง) แต่ครั้นรวมเจตนาเป็นต้นเข้าแล้ว จึงเรียกว่าสังขารขันธ์
อย่างเดียว เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์เป็นเหมือนต้นกล้วยอย่างนี้บ้าง
บทว่า จกฺขุมา ปุริโส ความว่า มีจักษุดี ด้วยจักษุทั้งสองคือ
มังสจักษุ และ ปัญญาจักษุ. อธิบายว่า แม้มังสจักษุของบุรุษนั้นก็บริสุทธิ์
ปราศจากต้อต่อมก็ใช้ได้ แม้ปัญญาจักษุ ก็สามารถมองเห็นว่าไม่มี
สาระก็ใช้ได้.

วิญญาณ


แม้วิญญาณก็ชื่อว่า เปรียบเหมือน มายา เพราะหมายความว่า
ไม่มีสาระ อนึ่ง ชื่อว่าเปรียบเหมือนมายา เพราะหมายความว่าจับคว้า
ไม่ได้.
เปรียบเหมือนว่า มายา ปรากฏเร็ว ชั่วเวลาเล็กน้อย1 ฉันใด
วิญญาณก็ฉันนั้น เพราะว่าวิญญาณนั้น เป็นของมีชั่วเวลาน้อยกว่า และ
ปรากฏเร็วกว่ามายานั้น ก็คนจึงเป็นเหมือนเดินมา เป็นเหมือนยืนอยู่
(และ) เป็นเหมือนนั่ง ด้วยจิตดวง (เดียวกัน) นั้นนั่นแล.
แต่ว่า ในเวลาไป จิตเป็นดวงหนึ่ง ในเวลามาเป็นต้น จิตเป็นอีก
ดวงหนึ่ง วิญญาณเป็นเหมือนมายาอย่างนี้บ้าง.
อนึ่ง มายาย่อมล่อล่วงมหาชน ให้มหาชนยึดถือ อะไร ๆ ต่าง ๆ
ว่า นี้ ทองคำ นี้เงิน นี้แก้วมุกดา แม้วิญญาณก็ล่อลวงมหาชน ให้
มหาชนยึดถือว่า เป็นเหมือนเดินมา เป็นเหมือนยืนอยู่ (และ) เป็นเหมือน
นั่งอยู่ด้วย จิต (ดวงเดียวกัน) นั้น นั่นแล ในเวลามา จิตก็เป็นดวงหนึ่ง
1. ปาฐะว่า อิตรา ฉบับพม่าเป็น อิตฺตรา แปลตามฉบับพม่า.