เมนู

จึงกลับเป็นปัจจัย (ให้เกิด) อุจเฉททิฏฐิและความสะดุ้งว่า เราจักขาดสูญ
เราจักพินาศ.
และท่านก็เห็นอัตตาเหมือนตกลงไปในเหว จึงกล่าวว่า ความ
สะดุ้งและอุปาทานเกิดขึ้น ใจของผมจึงหมุนกลับอย่างนี้ว่า ก็แล้ว
อะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา ?
บทว่า น โข ปเนตํ ธมฺมํ ปสฺสโต โหติ ความว่า ความคิด
อย่างนี้ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เห็นธรรมคือ สัจจะ 4.
บทว่า ตาวติกา วิสฺสฏฺฐิ แปลว่า ความคุ้นเคยเช่นนั้น.
บทว่า สมฺมุขา เมตํ ความว่า พระเถระฟังคำของ
พระฉันนะนั้นแล้วจึงคิดว่า ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแลจึงเหมาะแก่
ภิกษุนี้ เลือกเฟ้นพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ก็ได้เห็นกัจจายนสูตร
ว่า พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอนแรกเป็นการคลายทิฏฐิ
ตอนกลางเป็นการแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า (ทสพลญาณ)
(ตอนท้าย) เป็นการประกาศปัจจยาการที่ละเอียดสุขุม เราจักแสดง
สูตรนี้แก่เธอ.
พระอานนทเถระ เมื่อจะแสดงสูตรนั้น จึงกล่าวคำว่า สมฺมุขา
เมตํ
เป็นต้น.
จบ อรรถกถาฉันนสูตรที่ 8

9. ราหุลสูตรที่ 1



ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย



[235 ] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า เมื่อบุคคลรู้อยู่
อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอ อหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกจึงจะไม่มี ? พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นรูป
ทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ของ
เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใด
อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ บุคคล
พิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
ดูก่อนราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อหังการ มมังการ
และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
จึงจะไม่มี.
จบ ราหุลสูตรที่ 1

10. ราหุลสูตรที่ 2



ว่าด้วยการรู้การเห็นที่ทำให้ปราศจากอหังการมมังการ

และมานานุสัย



[236] กรุงสาวัตถี. ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง