เมนู

จึงกลับเป็นปัจจัย (ให้เกิด) อุจเฉททิฏฐิและความสะดุ้งว่า เราจักขาดสูญ
เราจักพินาศ.
และท่านก็เห็นอัตตาเหมือนตกลงไปในเหว จึงกล่าวว่า ความ
สะดุ้งและอุปาทานเกิดขึ้น ใจของผมจึงหมุนกลับอย่างนี้ว่า ก็แล้ว
อะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา ?
บทว่า น โข ปเนตํ ธมฺมํ ปสฺสโต โหติ ความว่า ความคิด
อย่างนี้ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เห็นธรรมคือ สัจจะ 4.
บทว่า ตาวติกา วิสฺสฏฺฐิ แปลว่า ความคุ้นเคยเช่นนั้น.
บทว่า สมฺมุขา เมตํ ความว่า พระเถระฟังคำของ
พระฉันนะนั้นแล้วจึงคิดว่า ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแลจึงเหมาะแก่
ภิกษุนี้ เลือกเฟ้นพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ก็ได้เห็นกัจจายนสูตร
ว่า พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอนแรกเป็นการคลายทิฏฐิ
ตอนกลางเป็นการแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า (ทสพลญาณ)
(ตอนท้าย) เป็นการประกาศปัจจยาการที่ละเอียดสุขุม เราจักแสดง
สูตรนี้แก่เธอ.
พระอานนทเถระ เมื่อจะแสดงสูตรนั้น จึงกล่าวคำว่า สมฺมุขา
เมตํ
เป็นต้น.
จบ อรรถกถาฉันนสูตรที่ 8

9. ราหุลสูตรที่ 1



ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย



[235 ] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง