เมนู

บทว่า สฏฺฐีมตฺตานํ เถรานํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระ
ประมาณ 60 รูปนั้น เริ่มเจริญวิปัสสนาในที่ที่พระเถระกล่าว
(ธรรมแก่พวกตน) แล้วพิจารณาสูงขึ้น ๆ เวลาจบเทศนาก็ได้สำเร็จ
เป็นพระอรหันต์. ฝ่ายพระ (เขมก) เถระไม่กล่าวโดยทำนองอื่นแต่
กล่าวด้วยจิตสหรคตด้วยวิปัสสนานั่นเอง เพราะฉะนั้นท่านจึงสำเร็จเป็น
พระอรหันต์ด้วย ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
จิตของภิกษุเถระประมาณ 60 รูป และของท่านพระเขมกะหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น.
จบ อรรถกถาเขมกสูตรที่ 7

8. ฉันนสูตร



ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ



[231] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูปอยู่ ณ ป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน กรุงพาราณสี.
ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะออกจากที่เร้นใน
เวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า
ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย
จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงแสดงธรรมีกถาแก่ผม
ด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.
[232] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนา

ไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา
เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็น
อนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ลำดับนั้น
ท่านพระฉันนะเกิดความคิดนี้ว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็น
อนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อเป็น
เช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในธรรม
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา
วิราคะ นิโรธ นิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่าเป็นตนของเรา
แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม 4) ใครหนอจะ
แสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้.
[233] ลำดับนั้นเอง ท่านพระฉันนะได้มีความคิดว่า ท่าน
พระอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ท่านพระอานนท์ผู้ซึ่ง
พระศาสดาทรงสรรเสริญและทรงยกย่องแล้ว ย่อมสามารถแสดงธรรม
แก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู และสามารถจะแสดงธรรม
แก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่าน
พระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์
เถิด. ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะก็เก็บเสนาสนะ แล้วถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ได้ปราศรัย
กับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า
ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอิสปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี

ครั้งนั้น ผมออกจากที่พักในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ทาง
วิหารแล้วได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลาย
จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงพร่ำสอนผมด้วย
ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะ
พึงเห็นธรรมได้. เมื่อผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้
กล่าวกะผมว่า ท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็น
อนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ดังนี้ ผมนั้นได้มีความคิดว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนั้น
ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณ
เป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็เมื่อเป็น
เช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในธรรม
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา
วิราคะ นิโรธ นิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา
แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครหนอจะแสดงธรรม
แก่เรา ? โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อาวุโส ผมนั้นได้มีความคิดว่า
ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ท่านพระอานนท์
ผู้ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและทรงยกย่อง ย่อมสามารถแสดง
ธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู และสามารถจะแสดง
ธรรมแก่เราโดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยใน
ท่านพระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่าน
พระอานนท์เถิด ขอท่านพระอานนท์จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่าน
พระอานนท์
จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์จงแสดงธรรมีกถา
แก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.

[234] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผมก็ดีใจ
ด้วยท่านพระฉันนะ ทั้งได้รำพึงกันมาแต่แรก ท่านพระฉันนะได้กระทำ
ข้านั้นให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำลายความดื้อดึงได้แล้ว ท่านพระฉันนะ
ท่านจงเงี่ยโสตลงฟัง ท่านเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง
ลำดับนั้น ความปีติและความปราโมทย์อย่างโอฬาร ก็บังเกิดมีแก่
ท่านพระฉันนะ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นว่า เราเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรม
ได้อย่างแจ่มแจ้ง.
อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ รับมา
แล้วเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตร
อยู่ว่า ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน 2 อย่าง คือ ความมี (อัตถิตา) 1
ความไม่มี (นัตถิตา) 1
ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลกด้วยปัญญา
อันชอบตามเป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็น
ความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่ ความมีใน
โลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและ
ความยึดมั่น แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบาย
เป็นเหตุถือมั่น มีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตา
ของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น
ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ใน
เรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ดูก่อนกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุดที่ 1 นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่
ส่วนสุดที่ 2 นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง
ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วย

การสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ฉ. ดูก่อนท่านอานนท์ ท่านเหล่าใดมีการกล่าวสอนอย่างนี้
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อนุเคราะห์ มุ่งประโยชน์ กล่าวสอนและพร่ำสอน
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้ ของ
ท่านอานนท์แล้ว เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.
จบ ฉันนสูตรที่ 8

อรรถกถาฉันนสูตรที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในฉันนสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-

พระฉันนเถระ


บทว่า อายสฺมา ฉนฺโน ได้แก่ พระฉันนเถระ เกิดในวันเดียว
กับพระตถาคตเจ้า ในวันที่พระตถาคตเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
ก็โดยเสด็จออกไปด้วย ครั้นเวลาต่อมา ได้บรรพชาในสำนักพระศาสดา
แล้ว กลับมีปกติลบหลู่ตีเสมอ อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าของเรา พระธรรม
ของเรา กระทบกระทั่งเพื่อนสพรหมจารีด้วยวาจาหยาบคาย.
บทว่า อปาปุรณํ1 อาทาย คือ ถือเอาลูกกุญแจ.
1. พ. อวาปุรณํ.