เมนู

บทว่า ทุกฺขญฺเจว ปญฺญเปมิ ทุกฺขสฺส จ นิโรธํ ความว่า เรา
ตถาคตบัญญัติวัฏฏทุกข์และความดับไปแห่งวัฏฏทุกข์ คือพระนิพพาน.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า ทุกฺขํ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายถึงทุกขสัจ เมื่อทรงหมายถึงทุกขสัจนั้นแล้วก็เป็นอันหมายถึง
สมุทัยสัจด้วย เพราะสมุทัยสัจเป็นมูลเหตุแห่งทุกขสัจนั้น.
ด้วยคำว่า นิโรธํ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึง
นิโรธสัจ เมื่อทรงหมายถึงนิโรธสัจนั้นแล้วก็เป็นอันทรงหมายถึง
มรรคสัจด้วย เพราะมรรคสัจเป็นอุบาย (ให้บรรลุ) นิโรธสัจนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงว่า ดูก่อนอนุราธะ
ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้เราตถาคตบัญญัติสัจจะไว้ 4 เท่านั้น ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้.
ด้วยเหตุผลดังว่ามานี้ในสูตรนี้ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเฉพาะ (เรื่อง) วัฏฏะไว้.
จบ อรรถกถาอนุราธสูตรที่ 4

5. วักกลิสูตร



ว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า



[215] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-
เวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระวักกลิ
อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา พักอยู่ที่นิเวศน์ของ
นายช่างหม้อ ครั้งนั้น ท่านพระวักกลิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลาย
มาแล้ว กล่าวว่า มาเถิดอาวุโส ท่านทั้งหลาย จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-