เมนู

พวกเจ้าจำนวนเท่านี้ จงไปไถนา จำนวนเท่านี้จงไปหว่าน ดังนี้ชื่อว่า
ลุกขึ้นก่อนใครหมด เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปุพฺพุฏฺฐายี.
บุรุษนี้นั้น ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี เพราะเมื่อคนงานทั้งหมดกลับไป
ยังที่อยู่ของตน ๆ แล้ว (ตนเอง) ก็ยังจัดการอารักขารอบเรือน
ปิดประตูนอนทีหลังเขาหมด.
ที่ชื่อว่า กึการปฏิสาวี เพราะหมายความว่า มองดูหน้าคหบดี
หรือบุตรคหบดี คล้ายจะถามว่า จะให้ผมทำอะไรครับท่าน (จะให้)
ผมทำอะไรครับท่าน (จากนั้น) ก็คอยฟังคำสั่งว่า จะให้ทำอะไร1.
ที่ชื่อว่า มนาปจารี เพราะหมายความว่า ประพฤติสิ่งที่ถูกใจ.
ที่ชื่อว่า ปิยวาที เพราะหมายความว่า พูดวาจาที่น่ารัก.
บทว่า มิตฺตโตปิ นํ ทเหยฺย ความว่า (คหบดีหรือบุตรคหบดี)
พึงเชื่อว่า บุรุษนี้เป็นมิตรของเรา.
บทว่า วิสฺสาสํ อาปชฺเชยฺย ความว่า (คหบดีหรือบุตรคหบดี)
พึงทำกิจทั้งหลายมีดื่มกินร่วมกันเป็นต้น จึงเป็นผู้คุ้นเคยกัน.
บทว่า สํวิสฺสฏฺโฐ แปลว่า คุ้นเคยกันดี.

อุปมาเปรียบเทียบ


ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้ออุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
พาลปุถุชนผู้มิได้สดับ (ธรรมของพระอริยะ) ในเวลาที่อาศัย
วัฏฏะ (ยังเวียนว่ายตายเกิด) เปรียบเหมือนบุตรคหบดีผู้โง่เขลา.
1. ปาฐะว่า กึ การณํ ฉบับพม่าเป็น กึ การํ แปลตามฉบับพม่า

เบญจขันธ์ไม่มีกำลังทุรพล (ทรุดโทรม, เกิดดับอยู่ตลอดเวลา)
เปรียบเหมือนศัตรูคอยดักสังหาร.
เบญจขันธ์ซึ่งเข้าถึงในขณะปฏิสนธิ เปรียบเหมือนเวลาที่ศัตรู
ผู้คอยดักสังหารเข้าไปหาด้วยหวังว่า จักรับใช้บุตรคหบดีผู้โง่.
เวลาที่ปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะ ไม่ยืดถือเบญจขันธ์ว่า เหล่านี้เป็น
ของเรา (แต่กลับแยก) ยึดถือว่า รูปของเรา เวทนาของเรา สัญญา
ของเรา สังขารของเรา วิญญาณของเรา เปรียบเหมือนเวลาที่บุตร
คหบดีผู้โง่เขลาไม่ทราบว่า ผู้นี้เป็นสหายของเรา ผู้นี้เป็นศัตรูผู้คอย
ดักสังหารของเรา.
เวลาที่ปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะยึดถือ (เบญจขันธ์) ว่า เหล่านี้ของเรา
แล้วทำสักการะ (ปรนนิบัติ) เบญจขันธ์ด้วยการอาบน้ำ และการกิน
เป็นต้น เปรียบเหมือนเวลาที่ศัตรูผู้คอยดักสังหารยอมรับว่า ผู้นี้เป็น
มิตรของเรา แล้วทำสักการะ (ปรนนิบัติ). การที่พาลปุถุชนผู้คุ้นเคยแล้ว
สิ้นชีวิตเพราะขันธ์แตกในขณะจุติ พึงทราบว่าเปรียบเหมือนการที่
ศัตรูผู้คอยดักสังหาร ทราบว่า คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้กับเราคุ้นเคยกัน
มากแล้ว ทำสักการะพลางเอาดาบตัดศีรษะ (ของคหบดีหรือบุตร
ของคหบดี).
บทว่า อุเปติ แปลว่า เข้าใกล้. บทว่า อุปาทิยติ แปลว่า ยึดถือ.
บทว่า อธิฏฺฐาติ แปลว่า ตั้งมั่น. บทว่า อตฺตา เม ความว่า นี้เป็นอัตตา
ของเรา.
บทว่า สุตวา จ โข อาวุโส อริยสาวโก ความว่า บุตรคหบดี
ผู้เป็นบัณฑิตรู้จักศัตรูผู้เข้าใกล้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา แล้ว
ไม่ประมาท ใช้ศัตรูให้ทำงานชนิดนั้น ๆ หลบหลีกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ย่อมได้รับประโยชน์ ฉันใด แม้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ธรรมของ
พระอริยะ) ก็ฉันนั้น ไม่ยึดถือเบญจขันธ์ว่าเป็นเรา หรือว่าของเรา
โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ทราบว่า เบญจขันธ์
เหล่านี้เป็นศัตรูของเราแล้วประกอบเข้ากับวิปัสสนา โดยเป็นรูปสัตตกะ
(หมวดเจ็ดของรูป) และอรูปสัตตกะ (หมวดเจ็ดของอรูป) เป็นต้น
หลีกเว้นทุกข์ซึ่งเกิดจากเบญจขันธ์นั้น ย่อมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
อันเป็นผลที่เลิศ.
บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบ อนุราธสูตร

4. อนุราธสูตร



ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ 5



[208] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา
ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี
ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า
ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกพากันเข้า
ไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่าน
พระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วจึงได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า
ดูก่อนท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุ
ธรรมที่ควรบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติใน
ฐานะ 4 นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก 1 ย่อมไม่เกิดอีก 1
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี 1 ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก
ก็หามิได้ 1 เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะ