เมนู

พวกเจ้าจำนวนเท่านี้ จงไปไถนา จำนวนเท่านี้จงไปหว่าน ดังนี้ชื่อว่า
ลุกขึ้นก่อนใครหมด เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปุพฺพุฏฺฐายี.
บุรุษนี้นั้น ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี เพราะเมื่อคนงานทั้งหมดกลับไป
ยังที่อยู่ของตน ๆ แล้ว (ตนเอง) ก็ยังจัดการอารักขารอบเรือน
ปิดประตูนอนทีหลังเขาหมด.
ที่ชื่อว่า กึการปฏิสาวี เพราะหมายความว่า มองดูหน้าคหบดี
หรือบุตรคหบดี คล้ายจะถามว่า จะให้ผมทำอะไรครับท่าน (จะให้)
ผมทำอะไรครับท่าน (จากนั้น) ก็คอยฟังคำสั่งว่า จะให้ทำอะไร1.
ที่ชื่อว่า มนาปจารี เพราะหมายความว่า ประพฤติสิ่งที่ถูกใจ.
ที่ชื่อว่า ปิยวาที เพราะหมายความว่า พูดวาจาที่น่ารัก.
บทว่า มิตฺตโตปิ นํ ทเหยฺย ความว่า (คหบดีหรือบุตรคหบดี)
พึงเชื่อว่า บุรุษนี้เป็นมิตรของเรา.
บทว่า วิสฺสาสํ อาปชฺเชยฺย ความว่า (คหบดีหรือบุตรคหบดี)
พึงทำกิจทั้งหลายมีดื่มกินร่วมกันเป็นต้น จึงเป็นผู้คุ้นเคยกัน.
บทว่า สํวิสฺสฏฺโฐ แปลว่า คุ้นเคยกันดี.

อุปมาเปรียบเทียบ


ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้ออุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
พาลปุถุชนผู้มิได้สดับ (ธรรมของพระอริยะ) ในเวลาที่อาศัย
วัฏฏะ (ยังเวียนว่ายตายเกิด) เปรียบเหมือนบุตรคหบดีผู้โง่เขลา.
1. ปาฐะว่า กึ การณํ ฉบับพม่าเป็น กึ การํ แปลตามฉบับพม่า