เมนู

อรรถกถายมกสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในยมกสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-

ทิฏฐิของพระยมกะ


บทว่า ทิฏฺฐิคตํ ความว่า ก็ถ้าพระยมกะนั้น จะพึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป ความเป็นไปแห่งสังขาร
นั่นแหละ ที่ไม่เป็นไป มีอยู่ (ความคิดดังว่ามานี้) ยังไม่ควรเป็นทิฏฐิ
(แต่) ควรเป็นญาณที่ท่องเที่ยวไปในคำสอน (ศาสนา).
แต่เพราะพระยมกะนั้น ได้มีความคิดว่า สัตว์ขาดศูนย์ สัตว์พินาศ
ฉะนั้น ความคิดนั้นจึงเป็นทิฏฐิ.
บทว่า ถามสา ปรามาสา ความว่า ด้วยพลังของทิฏฐิ และ
ด้วยการลูบคลำด้วยทิฏฐิ.
บทว่า เยนายสฺมา สารีปุตฺโต ความว่า เมื่อปัจจันตชนบท
เกิดจลาจล เจ้าหน้าที่ไม่สามารถปราบปรามให้สงบราบคาบได้
จึงไปหาเสนาบดี หรือไม่ก็ไปเฝ้าพระราชา ฉันใด เมื่อพระเถระนั้น
สับสนด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเหล่านั้น ไม่สามารถจะกำหราบเธอได้
จึงพากันเข้าไปหาพระสารีบุตร ผู้เป็นพระธรรมเสนาบดี ของ
พระธรรมราชาจนถึงที่อยู่.

พระสารีบุตรสอนพระยมกะ


บทว่า เอวํ พฺยาโข1 ความว่า พระยมกะไม่สามารถ
จะกล่าวได้เต็มปาก (พูดอ้อมแอ้ม) ต่อหน้าพระ (สารีบุตร) เถระ
เหมือนที่กล่าวในสำนักภิกษุเหล่านั้นได้ จึงกล่าวด้วยหัวใจที่ห่อเหี่ยวว่า
1. บาลีเป็น เอวํ ขฺวาหํ

เอวํ พฺยาโข1 (เป็นอย่างนั้นแล) ดังนี้.
ในตอนนี้ พระสารีบุตรได้กล่าวอุปมาเปรียบเทียบไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?
พระเถระได้ฟังคำของพระยมกะนั้น ดังนี้แล้ว คิดว่า ภิกษุนี้
ไม่เห็นโทษในลัทธิของตน เราจักทำโทษนั้นให้ปรากฏแก่เธอด้วย
การแสดงธรรมดังนี้ แล้วเริ่มแสดงเทศนามีปริวัฏ 3 (เทศนา 3 รอบ).
ถามว่า เพราะเหตุไร พระสารีบุตรจึงเริ่มคำนี้ไว้ว่า ดูก่อน
ยมกะผู้มีอายุ ท่านสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน ? ท่านพิจารณาเห็นรูป
ว่า เป็นสัตว์หรือ ?
ตอบว่า เริ่มไว้ เพื่อให้บรรลุธรรมเนียมการซักถาม. เพราะว่า
พระเถระสำเร็จเป็นพระโสดาบัน ในเวลาจบเทศนามีปริวัฏ 3.
เวลานั้น พระสารีบุตรกล่าวคำว่า ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เป็นต้นไว้ ก็เพื่อให้พระยมกะนั้นได้บรรลุถึงธรรมเนียมในการซักถาม.
บทว่า ตถาคโต คือ สตฺโต (แปลว่า สัตว์).
พระสารีบุตรเถระประมวล (รวบรวม) ขันธ์ 5 เหล่านี้ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาแล้วถามว่า ท่านพิจารณาเห็น
ขันธ์ 5 เหล่านี้ว่า เป็นสัตว์หรือ ?
รูปประโยคว่า เอตฺถ จ เต อาวุโส นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติแสดงถึง
การซักถามของพระเถระ มีคำอธิบายดังนี้ว่า ก็เมื่อในปัจจุบันท่านยัง
หาสัตว์ไม่ได้ ตามความเป็นจริง ตามสภาพที่ถ่องแท้ในที่นี้คือ ในฐานะ
มีประมาณเท่านี้.
1 บาลีเป็น เอวํ ขุวาหํ

พระสารีบุตร (เถระ) ประสงค์จะให้พระยมกะพยากรณ์ความ
เป็นพระอรหันต์ จึงถามคำถามนี้ว่า สเจ ตํ อาวุโส ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ยํ ทุกฺขํ ตํ นิรุทฺธํ ความว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นแล
ดับไปแล้ว ไม่มีสัตว์ที่จะชื่อว่าดับต่างหาก ข้าพเจ้าพึงพยากรณ์อย่างนี้.
บทว่า เอตสฺเสว อตฺถสฺส ความว่า ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค)
นั้น อย่างนี้.
บทว่า ภิยฺโยโสมตฺตาย ญาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์
แก่ญาณมีประมาณยิ่ง อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำมรรค 3
ชั้นสูง พร้อมทั้งวิปัสสนาให้แจ่มแจ้ง.
บทว่า อารกฺขสมฺปนฺโน คือ ถึงพร้อมด้วยการอารักขาภายใน
และการอารักขาภายนอก.
บทว่า อโยคกฺเขมกาโม คือ ไม่ปรารถนาความเกษม (ปลอดภัย)
จากโยคะ 4.
บทว่า ปสยฺห คือ ข่มขู่ ได้แก่ ข่มขี่.
บทว่า อนุปขชฺช คือ ลักลอบเข้าไป.
ในบทว่า ปุพฺพุฏฺฐายี เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บุรุษที่ชื่อว่า ปุพฺพุฏฺฐายี เพราะหมายความว่า เห็นคหบดี หรือ
บุตรคหบดี มาแต่ไกลก็ลุกจากที่นั่งก่อน.
ที่ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี เพราะหมายความว่า ให้ที่นั่งแก่คหบดี
หรือบุตรคหบดีนั้นแล้ว เมื่อท่านนั่ง (ตนเอง) จึงหย่อนตัวลง คือ
นั่งทีหลัง. (อีกอย่างหนึ่ง) บุรุษนั้นตื่นขึ้นแต่เช้าตรู่ แล้วจัดแจงว่า

พวกเจ้าจำนวนเท่านี้ จงไปไถนา จำนวนเท่านี้จงไปหว่าน ดังนี้ชื่อว่า
ลุกขึ้นก่อนใครหมด เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปุพฺพุฏฺฐายี.
บุรุษนี้นั้น ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี เพราะเมื่อคนงานทั้งหมดกลับไป
ยังที่อยู่ของตน ๆ แล้ว (ตนเอง) ก็ยังจัดการอารักขารอบเรือน
ปิดประตูนอนทีหลังเขาหมด.
ที่ชื่อว่า กึการปฏิสาวี เพราะหมายความว่า มองดูหน้าคหบดี
หรือบุตรคหบดี คล้ายจะถามว่า จะให้ผมทำอะไรครับท่าน (จะให้)
ผมทำอะไรครับท่าน (จากนั้น) ก็คอยฟังคำสั่งว่า จะให้ทำอะไร1.
ที่ชื่อว่า มนาปจารี เพราะหมายความว่า ประพฤติสิ่งที่ถูกใจ.
ที่ชื่อว่า ปิยวาที เพราะหมายความว่า พูดวาจาที่น่ารัก.
บทว่า มิตฺตโตปิ นํ ทเหยฺย ความว่า (คหบดีหรือบุตรคหบดี)
พึงเชื่อว่า บุรุษนี้เป็นมิตรของเรา.
บทว่า วิสฺสาสํ อาปชฺเชยฺย ความว่า (คหบดีหรือบุตรคหบดี)
พึงทำกิจทั้งหลายมีดื่มกินร่วมกันเป็นต้น จึงเป็นผู้คุ้นเคยกัน.
บทว่า สํวิสฺสฏฺโฐ แปลว่า คุ้นเคยกันดี.

อุปมาเปรียบเทียบ


ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้ออุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
พาลปุถุชนผู้มิได้สดับ (ธรรมของพระอริยะ) ในเวลาที่อาศัย
วัฏฏะ (ยังเวียนว่ายตายเกิด) เปรียบเหมือนบุตรคหบดีผู้โง่เขลา.
1. ปาฐะว่า กึ การณํ ฉบับพม่าเป็น กึ การํ แปลตามฉบับพม่า