เมนู

ในบทว่า อวีตราคสฺส พึงทราบอรรถโดยตัณหานั่นเอง เพราะ
ฉะนั้นตัณหาแล ท่านเรียกว่า ราคะ เพราะกำหนัด ว่าฉันทะ เพราะ
พอใจ ว่า เปมะ เพราะอรรถว่าประพฤติรักใคร่ ว่าปิปาสาระหาย
เพราะอรรถว่าประสงค์จะดื่ม ว่าปริฬาหะรุ่มร้อน เพราะอรรถว่า
ตามเผา. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงเริ่มคำเป็นต้นว่า อกุสเล จาวุโส
ธมฺเม
แก้ว่า เพื่อแสดงโทษของผู้ไม่ปราศจากราคะและอานิสงส์ของ
ผู้ปราศจากราคะในขันธ์ 5. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิฆาโต ได้แก่
ผู้หมดทุกข์แล้ว. บทว่า อนุปายาโส ได้แก่ ผู้หมดความเดือดร้อน.
บทว่า อปริฬาโห ได้แก่ผู้ไม่มีความรุ่มร้อน พึงทราบความทุกบทดังว่ามานี้.
จบ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ 2

3. หลิททิกานิสูตรที่ 1



ว่าด้วยลักษณะมุนี



[11] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้
กุรรฆรนคร แคว้นอวันตี ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไปหา
ท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหา อันมีในอัฏฐกวรรคว่า

มุนีละที่อยู่แล้ว ไม่มีที่พักเที่ยวไป ไม่ทำ
ความสนิทสนมในบ้าน เป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้า ไม่ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ
ชนอื่น ดังนี้.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธวจนะที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร.

[12] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี รูปธาตุเป็น
ที่อยู่อาศัยของวิญญาณ ก็แหละมุนีใดมีวิญญาณพัวพันด้วยราคะใน
รูปธาตุ มุนีนั้นท่านกล่าวว่า มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี เวทนา...
สัญญา...สังขารธาตุเป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณ ก็แหละมุนีใดมี
วิญญาณพัวพันด้วยราคะในสังขารธาตุ มุนีนั้นท่านกล่าวว่ามีที่อยู่อาศัย
เที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ด้วยประการ
อย่างนี้แล.
[13] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไปอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน
ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัย
แห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคต
ทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อน

คฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใดใน
เวทนาธาตุ... ในสัญญาธาตุ... ในสังขารธาตุ... ในวิญญาณธาตุ
ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว ทรงตัดราก
ขาดแล้ว ทรงทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่
เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า
เป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัย
เที่ยวไปอย่างนี้แล.
[14] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้มีที่พักเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อน
คฤหบดี มุนีท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีที่พักเที่ยวไป เพราะซ่านไปและพัวพัน
ในรูป อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ดูก่อนคฤหบดี มุนีท่านกล่าวว่าเป็น
ผู้มีที่พักเที่ยวไป เพราะซ่านไปและพัวพันในเสียง... ในกลิ่น... ในรส...
ในโผฏฐัพพะ... ในธรรมารมณ์ อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ดูก่อน
คฤหบดี มุนีเป็นผู้มีที่พักเที่ยวไป อย่างนี้แล.
[15] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อน
คฤหบดี กิเลสเป็นเหตุซ่านไปและพัวพันในรูปอันเป็นนิมิตและที่พัก
อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดัง
ตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไป
ดูก่อนคฤหบดี กิเลสเป็นเหตุไปพัวพันในเสียง... ในกลิ่น... ในรส...
ในโผฏฐัพพะ... ในธรรมารมณ์อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก อันพระตถาคต
ทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น

พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี
มุนีชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไปอย่างนี้แล.
[16] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร ดูก่อน
คฤหบดี มุนีบ้างคนในโลกนี้ เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์อยู่ คือเป็น
ผู้พลอยชื่นชมกับเขา พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย
มีทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ขวนขวาย
ในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้าน
อย่างนี้แล.
[17] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีไม่เป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ คือ
ไม่พลอยชื่นชมกับเขา ไม่พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุข
ก็ไม่สุขด้วย มีทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น
ก็ไม่ขวนขวายในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีไม่เป็น
ผู้สนิทสนมในบ้าน อย่างนี้แล.
[18] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด
ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน
อยากในกามทั้งหลาย ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย
อย่างนี้แล.
[19] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปราศจากความ
กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย

ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ว่างจาก
กามทั้งหลาย อย่างนี้แล.
[20] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้มุ่งถึงกาลข้างหน้าอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในกาล
ข้างหน้า ขอเราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้
มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้มุ่งถึงกาล
ข้างหน้า อย่างนี้แล.
[21] ดูก่อนคฤหบจี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้าอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความปรารถนาอย่างนี้
ว่า ในกาลข้างหน้า ขอเราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญา
อย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ไม่มุ่ง
ถึงกาลข้างหน้า อย่างนี้แล.
[22] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับชนอื่น
อย่างไร ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้ทำถ้อยคำเห็น
ปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่าน
จักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด เราเป็นผู้ปฏิบัติชอบ
คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าวทีหลัง ท่านกล่าวก่อน
คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่ท่านเคย
ประพฤติมาผิดเสียแล้ว เรายกวาทะแก่ท่านแล้ว ท่านจงประพฤติเพื่อ
ปลดเปลื้องวาทะเสีย ท่านเป็นผู้อันเราข่มได้แล้ว หรือจงปลดเปลื้อง
เสียเอง ถ้าท่านสามารถ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ
ชนอื่น อย่างนี้แล.

[23] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีไม่เป็นผู้ทำคำแก่งแย่งกับชนอื่น
อย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่ทำ
ถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง
ธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด
เราเป็นผู้ปฏิบัติชอบ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าว
ทีหลัง ท่านกล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์
ข้อที่ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรายกวาทะแก่ท่านแล้ว ท่านจง
ประพฤติเพื่อปลดเปลื้องวาทะเสีย ท่านเป็นผู้อันเราข่มได้แล้ว หรือจง
ปลดเปลื้องเสียเอง ถ้าท่านสามารถ ดูก่อนคฤหบดี มุนีไม่เป็นผู้ทำ
ถ้อยคำแก่งแย่งกับชนอื่น อย่างนี้แล.
[24] ดูก่อนคฤหบดี พระพุทธวจนะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้วในมาคัณฑิยปัญหา อันมีในอัฏฐกวรรคว่า
มุนีละที่อยู่แล้ว ไม่มีที่พักเที่ยวไป ไม่ทำ
ความสนิทสนมในบ้าน เป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้า ไม่ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ
ชนอื่น ดังนี้.

ดูก่อนคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นโดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบ หลิททิการนิสูตรที่ 3

อรรถกถาหลิททิกานิสูตรที่ 3



ในหลิททิกานิสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อวนฺตีสุ ได้แก่ในแคว้นอวันตี กล่าวคือ อวันตีทักขิณาปถ.
บทว่า กุรรฆเร ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปปาเต ได้แก่ในเหว
ข้างหนึ่ง ได้ยินว่า ภูเขาลูกนั้นมีข้างแถบหนึ่งเป็นเสมือนขาดตกไป.
บาลีว่า ปวตฺเต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เป็นสถานที่ประกาศลัทธิของพวก
เดียรถีย์ต่างๆ. ดังนั้นพระเถระจึงอาศัยนครนั้นในรัฐนั้นแล้ว อยู่บน
ภูเขานั้น. บทว่า หลิทฺทิกานิ ได้แก่ คฤหบดีนั้นผู้มีชื่ออย่างนั้น บทว่า
ฏฺฐกวคฺคิเย มาคณฺฑิยปญฺเห ได้แก่ในปัญหาที่มีชื่อว่า มาคัณฑิยปัญหา
ในวรรคที่ 8.
ด้วยบทว่า รูปธาตุ ท่านประสงค์เอารูปขันธ์. บทว่า รูปธาตุ-
ราควินิพนฺธํ
ความว่า อันความกำหนัดในรูปธาตุรึงรัดแล้ว. บทว่า
วิญฺญาณํ ได้แก่กรรมวิญญาณ. บทว่า โอกสารี ได้แก่ผู้อาศัยเรือนอยู่
ประจำ คือผู้อาศัยอาลัยอยู่ประจำ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้
ท่านจึงไม่กล่าวว่า วิญฺญาณธาตุ โข คหปติ. แก้ว่า เพื่อกำจัดความงมงาย.
จริงอยู่ ว่าโดยอรรถ ปัจจัย ท่านเรียกว่า โอกะ กรรมวิญญาณที่เกิด
ก่อนย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่กรรมวิญญาณ ทั้งแก่วิบากวิญญาณที่เกิด
ภายหลัง ส่วนวิบากวิญญาณย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่วิบากวิญญาณ ทั้งแก่
กรรมวิญญาณ ฉะนั้น เพื่อจะกำจัดความงมงายที่จะพึงมีว่า อะไรหนอ
แลชื่อว่า วิญญาณ ในที่นี้ จึงไม่ทรงกำหนดเอาข้อนั้นทำเทศนาโดย
ไม่ปนเปกัน อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยอำนาจอารมณ์ เพื่อจะแสดง
วิญญาณฐิติที่ปัจจัยปรุงแต่ง 4 อย่าง ที่ตรัสไว้นั้น จึงไม่จัดวิญญาณ
เข้าในที่นี้.