เมนู

อุปมานี้แล เพื่อให้เข้าใจเนื้อความ ในข้อนี้มีอธิบายอย่างนี้ คำว่าบุรุษ
ผู้ไม่ฉลาดในหนทางนี้แล เป็นชื่อแห่งปุถุชน คำว่าบุรุษผู้ฉลาดใน
หนทางนี้แล เป็นชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่าทาง
2 แพร่งนี้แล เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คำว่าทางซ้ายนี้แล เป็นชื่อแห่งมรรค
ผิดอันประกอบด้วยองค์ 8 คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ คำว่า
ทางขวานี้แล เป็นชื่อแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 คือ
สัมมาทิฏฐิฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่าราวป่าอันทึบนี้แล เป็นชื่อแห่ง
อวิชชา คำว่าที่ลุ่มใหญ่มีเปือกตมนี้แล เป็นชื่อแห่งกามทั้งหลาย
คำว่าหนองบึงนี้แล เป็นชื่อแห่งความโกรธและความคับแค้น คำว่า
ภูมิภาคอันราบรื่นนี้แล เป็นชื่อแห่งนิพพาน เธอจงยินดีเถิด ติสสะ
เธอจงยินดีเถิด ติสสะ ตามโอวาทของเราตามความอนุเคราะห์ของเรา
ตามคำพร่ำสอนของเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระติสสะปลื้มใจชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบ ติสสสูตรที่

อรรถกถาติสสสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในติสสสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :

พระติสสเถระ


บทว่า มธุรกชาโต วิย ความว่า (ร่างกายของผม) ไม่เหมาะ
แก่การงาน (ไม่คล่องตัว) เหมือนเกิดมีภาระหนัก.
บทว่า ทิสาปิ ความว่า ท่านพระติสสะกล่าวว่า แม้ทิศทั้งหลาย
ก็ไม่ปรากฏ คือไม่แจ่มแจ้งแก่ผมอย่างนี้ว่า นี้ทิศตะวันออก นี้ทิศใต้.
บทว่า ธมฺปาปิ มํ น ปฏิภนฺติ ความว่า ท่านพระติสสะกล่าวว่า
แม้ปริยัติธรรมทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏแก่ผม สิ่งที่เรียนได้แล้ว สาธยาย

ได้แล้ว ก็ไม่ปรากฏ (ลืมหมด).
บทว่า วิจิกิจฺฉา ความว่า ไม่ใช่ วิจิกิจฉา (ความสงสัย)
อย่างสำคัญ เนื่องจากว่า ท่านไม่เกิดความสงสัยว่า "ศาสนานำสัตว์
ออกจากทุกข์ได้หรือไม่หนอ" แต่ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า ''เราจัก
สามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้หรือหนอ หรือจักทำได้แต่เพียง
ครองบาตรและจีวรเท่านั้น "1

กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย


บทว่า กามานเมตํ อธิวจนํ ความว่า เมื่อบุคคลมองดูสระน้อย
ที่ลาดลุ่ม มีแต่เพียงน่าดู น่ารื่นรมย์ แต่ (ถ้า) บุคคลใดลงไปใน
สระน้อยที่ลาดลุ่มนี้ สระนั้นก็จะฉุดลากผู้นั้นให้ถึงความพินาศ2 เพราะ
สระน้อยนั้นมีปลาดุชุกชุม ฉันใด ในกามคุณ 5 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ)
ทวารทั้งหลายมีจักษุทวารเป็นต้น3 มีแต่เพียงความน่ารื่นรมย์ ใน
เพราะ (เห็น) อารมณ์ (เป็นต้น) แต่ (ถ้า) บุคคลใด ติดใจในกามคุณ 5 นี้
มันก็จะลากจูงบุคคลนั้นไปยัดใส่ในทุคคติภูมิ มีนรกเป็นต้น นั่นแล.
เพราะว่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามเหล่านี้ มีโทษยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย
อำนาจประโยชน์ดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า กามานเมตํ อธิวจนํ.
บทว่า อหมนุคฺคเหน ความว่า เราตถาคตจะอนุเคราะห์ด้วย
การอนุเคราะห์ด้วยธรรมและอามิส.
1. ปาฐะว่า ปตฺตจีวรํ ธรายนมตฺตเมว เชิงอรรถเป็น ปตฺตจีวรธารณมตฺตเมว แปลว่าตามเชิงอรรถ
2. ปาฐะว่า ปาเปนฺติ เชิงอรรถและฉบับพม่าเป็น ปาเปติ แปลตามนัยหลัง
3. ปาฐะว่า จกฺขุทฺวาราทีนิ ฉบับพม่าเป็น จกฺขุทฺวาราทีนํ แปลตามฉบับพม่า