เมนู

ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส.
ป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส ฯลฯ.
ป. เพราะเหตุนี้แล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี (โดยเหตุนี้แล ข้าพเจ้า
จึงกล่าวว่า) ดูก่อนอาวุโส ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้มีอุปการะ
มากแก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านสอนพวกเราด้วยโอวาทนี้ ก็เราได้
ตรัสรู้ธรรม เพราะฟังธรรมเทศนานี้ของท่านพระปุณณมันตานีบุตร.
จบอานันทสูตรที่ 1

เถรวรรคที่ 4



อรรถกถาอานันทสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ 1 แห่งเถรวรรค ดังต่อไปนี้ :-

พระปุณณมันตานีบุตร


บุตรของนางพราหมณี ชื่อ มันตานี ชื่อ มันตานีบุตร.
บทว่า อุปาทาย แปลว่า อาศัย คือ ปรารภ ได้แก่ มุ่งหมาย
คือ อิงแอบ.
บทว่า อสฺมีติ โหติ ความว่า มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า 3 อย่าง
คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ที่เป็นไปอย่างนี้ว่า อัสมิ (เรามี เราเป็น).

บทว่า ทหโร แปลว่า คนหนุ่ม.
บทว่า ยุวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความเป็นหนุ่ม.
บทว่า มณฺฑกชาติโย แปลว่า มีการแต่งตัวเป็นสภาพ คือ
มีปกติชอบแต่งตัว.
บทว่า มุขนิมิตฺตํ แปลว่า เงาหน้า. ก็เงาหน้านั้นอาศัยกระจกเงา
ที่ใสสะอาดจึงปรากฏ.
ถามว่า ก็เมื่อบุคคลมองดูกระจกเงาใสสะอาดนั้น เงาหน้าของตน
ปรากฏ หรือเงาหน้าของคนอื่นปรากฏเล่า ?

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าเงาหน้าจะพึงเป็นของตนไซร้
(ไฉน) จะต้องปรากฏเป็นหน้าอื่น (อีกหน้าหนึ่ง) และถ้าเงาหน้าเป็นของ
ผู้อื่น (อีกหน้าหนึ่ง) ไซร้ ก็จะต้องปรากฏไม่เหมือนกันโดยสีเป็นต้น
เพราะฉะนั้น เงาหน้านั้น จึงไม่เป็นทั้งของตน ทั้งของคนอื่น แต่ว่า
รูปที่เห็นในกระจกนั้น อาศัยกระจก จึงปรากฏ.
ถามว่า ถ้าจะมีเงาหน้าใดปรากฏในน้ำ เงาหน้านั้นปรากฏได้
เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า ปรากฏได้ เพราะมหาภูตรูป (น้ำ) เป็นของใสสะอาด.
บทว่า ธมฺโม จ เม อภิสเมโก ความว่า พระอานนทเถระ
กล่าวว่า ผมได้บรรลุธรรมคือสัจจะ 4 ด้วยญาณ ผมจึงสำเร็จเป็น
พระโสดาบัน.
จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ 1

2. ติสสสูตร



ว่าด้วยปัจจัยให้เกิดและไม่ให้เกิดโสกะ



[194] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ก็สมัยนั้น ท่านพระติสสะซึ่งเป็น
โอรสของพระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้าบอกแก่ภิกษุหลายรูป
อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย กายของข้าพเจ้าเป็นดุจภาระอัน
หนักโดยแท้ แม้ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า แม้ธรรมทั้งหลาย
ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่
ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
ย่อมเกิดมีแก่ข้าพเจ้า.
[195] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านติสสะผู้เป็นโอรสของ
ปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า บอกแก่ภิกษุหลายรูปว่า อาวุโสทั้งหลาย
กายของข้าพเจ้าเป็นดุจภาระอันหนักโดยแท้ แม้ทิศทั้งหลายย่อมไม่
ปรากฏแก่ข้าพเจ้า แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ถีนมิทธะ
ย่อมครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
และความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดมีแก่ข้าพเจ้า ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอจงไปเรียกติสสภิกษุตามคำของเราว่า ท่านติสสะ พระศาสดา
รับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นรับพระดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านติสสะถึงที่อยู่
แล้วบอกแก่ท่านติสสะอย่างนี้ว่า ท่านติสสะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน
ท่านพระติสสะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มี-