เมนู

เถรวรรคที่ 4



1. อานันทสูตร



ว่าด้วยปัจจัยให้มีและไม่ให้มีตัณหามานะทิฏฐิ



[193] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่าน
พระอานนทเถระเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส
ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว. ท่านพระอานนท์
จึงได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ท่านพระปุณณมันตานีบุตรมี
อุปการะมากแก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านกล่าวสอนพวกเราด้วย
โอวาทอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านอานนท์ เพราะถือมั่น จึงมีตัณหา มานะ
ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา
เพราะถือมั่นอะไร จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น
อะไร จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะถือมั่นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะ
ไม่ถือมั่นรูป เวทน่า สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ
ทิฏฐิว่า เป็นเรา ดูก่อนท่านอานนท์ เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษรุ่น
หนุ่มรุ่นสาว มีนิสัยชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่กระจก หรือ
ที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดถือ
จึงไม่เห็น ฉันใด ดูก่อนท่านอานนท์ เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า
เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนท่านอานนท์ ท่านจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส.
ป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส ฯลฯ.
ป. เพราะเหตุนี้แล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี (โดยเหตุนี้แล ข้าพเจ้า
จึงกล่าวว่า) ดูก่อนอาวุโส ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้มีอุปการะ
มากแก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านสอนพวกเราด้วยโอวาทนี้ ก็เราได้
ตรัสรู้ธรรม เพราะฟังธรรมเทศนานี้ของท่านพระปุณณมันตานีบุตร.
จบอานันทสูตรที่ 1

เถรวรรคที่ 4



อรรถกถาอานันทสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ 1 แห่งเถรวรรค ดังต่อไปนี้ :-

พระปุณณมันตานีบุตร


บุตรของนางพราหมณี ชื่อ มันตานี ชื่อ มันตานีบุตร.
บทว่า อุปาทาย แปลว่า อาศัย คือ ปรารภ ได้แก่ มุ่งหมาย
คือ อิงแอบ.
บทว่า อสฺมีติ โหติ ความว่า มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า 3 อย่าง
คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ที่เป็นไปอย่างนี้ว่า อัสมิ (เรามี เราเป็น).