เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธพจน์บทนี้ไว้. แต่เพราะเหตุที่ไม่มี
อุปาทานที่พ้นไปจากขันธ์ทั้งโดยสหชาตปัจจัยหรือโดยอารัมมณปัจจัย
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปาทานมีนอกจากปาทานขันธ์ 5.
เพราะว่า เมื่อจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหาเป็นไปอยู่ รูปที่มีจิตนั้นเป็น
สมุฏฐานชื่อว่า รูปขันธ์. เว้นตัณหาเสีย อรูปธรรมที่เหลือจัดเป็นขันธ์ 4
รวมความว่า ไม่มีอุปาทานที่พ้นไปจากขันธ์ทั้งโดยสหชาตปัจจัย
อนึ่ง ไม่มีอุปาทานที่พ้นไปจากเบญจขันธ์ทั้งโดยอารัมมณปัจจัย
เพราะอุปาทานทำขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในบรรดาเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้น
ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

ฉันทราคะมีต่าง ๆ กัน


บทว่า ฉนฺทราคเวมตฺตตา แปลว่า ความที่ฉันทราคะมีต่าง ๆ กัน.
บทว่า เอวํ โข ภิกฺขุ ความว่า ความที่ฉันทราคะมีต่าง ๆ กัน
พึงมีได้ เพราะฉันทราคะที่มีรูปเป็นอารมณ์อย่างนี้ ก็จะไม่ทำขันธ์ใด
ขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ให้เป็นอารมณ์.

บัญญัติ


บทว่า ขนฺธาธิวจนํ คือ นี้เป็นบัญญัติของขันธ์ทั้งหลาย1.
ก็บัญญัตินี้ไม่สืบต่ออนุสนธิกันเลย ไม่สืบต่ออนุสนธิกันก็จริง ถึงกระนั้น
คำถามก็มีอนุสนธิ (ต่อเนื่องกัน) คำวิสัชนาก็มีอนุสนธิ (ต่อเนื่องกัน).
ถึงพระเถระนี้ ทูลถาม (ปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า)
ตามอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ๆ ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงแก้ (ปัญหา)
ตามอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น เหมือนกัน.
1. ปาฐะว่า ขนฺธาติ อยํ ปญฺญตฺติ ฉบับสีหลเป็น ขนฺธานํ อยํ ปญฺญตฺติ แปลตามฉบับสีหล