เมนู

อาจารย์ยืน1 ทูลถามปัญหาอยู่ ถ้าภิกษุ (500 รูป) นั้นนั่ง ก็เป็นการทำ
ความเคารพในพระศาสดา (แต่) ไม่เป็นการทำความเคารพในอาจารย์
ถ้ายืน ก็เป็นการทำความเคารพในอาจารย์ (แต่) ไม่เป็นการทำความ
เคารพในพระศาสดา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของภิกษุเหล่านั้นก็จักฟุ้งซ่าน
พวกเธอจักไม่สามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้ แต่เมื่อภิกษุรูปที่
เป็นอาจารย์นั้นนั่งถาม จิตของภิกษุเหล่านั้นจักแน่วแน่ (ในอารมณ์เดียว)
พวกเธอก็จักสามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้.
บทว่า อิเม นุ โข ภนฺเต ความว่า พระเถระนี้อันใคร ๆ
ไม่ควรพูด (ตำหนิ) ว่า ผู้ที่เป็นอาจารย์ของภิกษุตั้ง 500 รูป ไม่รู้แม้
เพียงเบญจขันธ์ เนื่องจากว่า การที่เธอเมื่อถามปัญหาจะถามเหมือน
คนรู้อย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ไม่ใช่อุปาทานขันธ์เหล่าอื่น
ไม่เหมาะเลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.
อนึ่ง แม้อันเตวาสิกทั้งหลายของท่านนั้น จักพากันคิดว่า
อาจารย์ของพวกเราไม่พูดว่าเรารู้ แต่เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ
ก่อนแล้วจึงพูด ดังนี้แล้ว สำคัญคำสอนของท่านว่า ควรฟัง ควรเชื่อถือ
แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.

เบญจขันธ์มีฉันทะเป็นมูลเหตุ


บทว่า ฉนฺทมูลกา คือ (เบญจขันธ์) มีฉันทะ คือ ตัณหาเป็นมูล.
บทว่า น โข ภิกฺขุ ตญฺเญว อุปาทานํ เต จ ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ความว่า เพราะเหตุที่เบญจขันธ์ที่พ้นไปจากฉันทราคะไม่มี ฉะนั้น
1. ปาฐะว่า วิตกฺเก ปุจฺฉนฺเต ฉบับพม่าเป็น ฐิตเก ปุจฺฉนฺเต แปลตามฉบับพม่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธพจน์บทนี้ไว้. แต่เพราะเหตุที่ไม่มี
อุปาทานที่พ้นไปจากขันธ์ทั้งโดยสหชาตปัจจัยหรือโดยอารัมมณปัจจัย
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปาทานมีนอกจากปาทานขันธ์ 5.
เพราะว่า เมื่อจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหาเป็นไปอยู่ รูปที่มีจิตนั้นเป็น
สมุฏฐานชื่อว่า รูปขันธ์. เว้นตัณหาเสีย อรูปธรรมที่เหลือจัดเป็นขันธ์ 4
รวมความว่า ไม่มีอุปาทานที่พ้นไปจากขันธ์ทั้งโดยสหชาตปัจจัย
อนึ่ง ไม่มีอุปาทานที่พ้นไปจากเบญจขันธ์ทั้งโดยอารัมมณปัจจัย
เพราะอุปาทานทำขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในบรรดาเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้น
ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

ฉันทราคะมีต่าง ๆ กัน


บทว่า ฉนฺทราคเวมตฺตตา แปลว่า ความที่ฉันทราคะมีต่าง ๆ กัน.
บทว่า เอวํ โข ภิกฺขุ ความว่า ความที่ฉันทราคะมีต่าง ๆ กัน
พึงมีได้ เพราะฉันทราคะที่มีรูปเป็นอารมณ์อย่างนี้ ก็จะไม่ทำขันธ์ใด
ขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ให้เป็นอารมณ์.

บัญญัติ


บทว่า ขนฺธาธิวจนํ คือ นี้เป็นบัญญัติของขันธ์ทั้งหลาย1.
ก็บัญญัตินี้ไม่สืบต่ออนุสนธิกันเลย ไม่สืบต่ออนุสนธิกันก็จริง ถึงกระนั้น
คำถามก็มีอนุสนธิ (ต่อเนื่องกัน) คำวิสัชนาก็มีอนุสนธิ (ต่อเนื่องกัน).
ถึงพระเถระนี้ ทูลถาม (ปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า)
ตามอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ๆ ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงแก้ (ปัญหา)
ตามอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น เหมือนกัน.
1. ปาฐะว่า ขนฺธาติ อยํ ปญฺญตฺติ ฉบับสีหลเป็น ขนฺธานํ อยํ ปญฺญตฺติ แปลตามฉบับสีหล