เมนู

อาจารย์ยืน1 ทูลถามปัญหาอยู่ ถ้าภิกษุ (500 รูป) นั้นนั่ง ก็เป็นการทำ
ความเคารพในพระศาสดา (แต่) ไม่เป็นการทำความเคารพในอาจารย์
ถ้ายืน ก็เป็นการทำความเคารพในอาจารย์ (แต่) ไม่เป็นการทำความ
เคารพในพระศาสดา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของภิกษุเหล่านั้นก็จักฟุ้งซ่าน
พวกเธอจักไม่สามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้ แต่เมื่อภิกษุรูปที่
เป็นอาจารย์นั้นนั่งถาม จิตของภิกษุเหล่านั้นจักแน่วแน่ (ในอารมณ์เดียว)
พวกเธอก็จักสามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้.
บทว่า อิเม นุ โข ภนฺเต ความว่า พระเถระนี้อันใคร ๆ
ไม่ควรพูด (ตำหนิ) ว่า ผู้ที่เป็นอาจารย์ของภิกษุตั้ง 500 รูป ไม่รู้แม้
เพียงเบญจขันธ์ เนื่องจากว่า การที่เธอเมื่อถามปัญหาจะถามเหมือน
คนรู้อย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ไม่ใช่อุปาทานขันธ์เหล่าอื่น
ไม่เหมาะเลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.
อนึ่ง แม้อันเตวาสิกทั้งหลายของท่านนั้น จักพากันคิดว่า
อาจารย์ของพวกเราไม่พูดว่าเรารู้ แต่เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ
ก่อนแล้วจึงพูด ดังนี้แล้ว สำคัญคำสอนของท่านว่า ควรฟัง ควรเชื่อถือ
แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.

เบญจขันธ์มีฉันทะเป็นมูลเหตุ


บทว่า ฉนฺทมูลกา คือ (เบญจขันธ์) มีฉันทะ คือ ตัณหาเป็นมูล.
บทว่า น โข ภิกฺขุ ตญฺเญว อุปาทานํ เต จ ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ความว่า เพราะเหตุที่เบญจขันธ์ที่พ้นไปจากฉันทราคะไม่มี ฉะนั้น
1. ปาฐะว่า วิตกฺเก ปุจฺฉนฺเต ฉบับพม่าเป็น ฐิตเก ปุจฺฉนฺเต แปลตามฉบับพม่า