เมนู

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เรานั่นเป็น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.
จบ ปุณณมสูตรที่ 10
จบ ขีชชนียวรรคที่ 3


อรรถกถาปุณณมสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในปุณณมสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทหุโปสเถ เป็นต้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดาร
ในปวารณาสูตร.

พระถามปัญญาเรื่องเบญจขันธ์


บทว่า กิญฺจิ เทสํ ได้แก่ เหตุบางอย่าง.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า
เธอจงนั่งบนอาสนะของตนแล้วถามปัญหาที่เธอจำนงหมายเถิด.
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้เพราะทรงทราบว่า
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีภิกษุเป็นบริวาร 500 รูป ก็เมื่อภิกษุรูปที่เป็น

อาจารย์ยืน1 ทูลถามปัญหาอยู่ ถ้าภิกษุ (500 รูป) นั้นนั่ง ก็เป็นการทำ
ความเคารพในพระศาสดา (แต่) ไม่เป็นการทำความเคารพในอาจารย์
ถ้ายืน ก็เป็นการทำความเคารพในอาจารย์ (แต่) ไม่เป็นการทำความ
เคารพในพระศาสดา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของภิกษุเหล่านั้นก็จักฟุ้งซ่าน
พวกเธอจักไม่สามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้ แต่เมื่อภิกษุรูปที่
เป็นอาจารย์นั้นนั่งถาม จิตของภิกษุเหล่านั้นจักแน่วแน่ (ในอารมณ์เดียว)
พวกเธอก็จักสามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้.
บทว่า อิเม นุ โข ภนฺเต ความว่า พระเถระนี้อันใคร ๆ
ไม่ควรพูด (ตำหนิ) ว่า ผู้ที่เป็นอาจารย์ของภิกษุตั้ง 500 รูป ไม่รู้แม้
เพียงเบญจขันธ์ เนื่องจากว่า การที่เธอเมื่อถามปัญหาจะถามเหมือน
คนรู้อย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ไม่ใช่อุปาทานขันธ์เหล่าอื่น
ไม่เหมาะเลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.
อนึ่ง แม้อันเตวาสิกทั้งหลายของท่านนั้น จักพากันคิดว่า
อาจารย์ของพวกเราไม่พูดว่าเรารู้ แต่เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ
ก่อนแล้วจึงพูด ดังนี้แล้ว สำคัญคำสอนของท่านว่า ควรฟัง ควรเชื่อถือ
แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.

เบญจขันธ์มีฉันทะเป็นมูลเหตุ


บทว่า ฉนฺทมูลกา คือ (เบญจขันธ์) มีฉันทะ คือ ตัณหาเป็นมูล.
บทว่า น โข ภิกฺขุ ตญฺเญว อุปาทานํ เต จ ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ความว่า เพราะเหตุที่เบญจขันธ์ที่พ้นไปจากฉันทราคะไม่มี ฉะนั้น
1. ปาฐะว่า วิตกฺเก ปุจฺฉนฺเต ฉบับพม่าเป็น ฐิตเก ปุจฺฉนฺเต แปลตามฉบับพม่า