เมนู

บทว่า อถโข สมุพหุลา ภิกฺขู ความว่า ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคต
ประทับอยู่ในป่าปาลิเลยยกะนั้น ดังพรรณนามานี้ ภิกษุ 500 รูปที่
จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย.
บทว่า เยนายสฺมา อานนฺโท ความว่า (ภิกษุเหล่านั้น)
ไม่สามารถจะไปสำนักพระศาสดาตามธรรมดาของตนได้ จึงเข้าไป
หาพระอานนท์จนถึงที่อยู่.

ศาสนาธรรม


บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย ความว่า อรหัตตผล
ต่อจากมรรค.
บทว่า วิจยโส แปลว่า ด้วยการวิจัย อธิบายว่า กำหนดด้วย
ญาณซึ่งสามารถวิจัยถึงสภาวะของธรรมเหล่านั้น ๆ.
บทว่า ธมฺโม หมายถึง ศาสนธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงธรรมกำหนดส่วนเหล่าใดมีอาทิว่า สติปัฏฐาน 4 ไว้ เพื่อ
ต้องการประกาศส่วนเหล่านั้น พระองค์จึงตรัส (พระพุทธพจน์นี้ไว้).

ปฏิจจสมุปบาทย่อย


บทว่า สมนุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นด้วยทิฏฐิ.
บทว่า สํขาโร โส ได้แก่ สังขารคือทิฏฐินั้น.
บทว่า ตโตโช โส สงฺขาโร ความว่า สังขารนั้นเกิดจาก
ตัณหานั้น อธิบายว่า ในบรรดาจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหา สังขารนั้น
ย่อมเกิดในจิต 4 ดวง.

บทว่า สาปิ ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาซึ่งเป็นปัจจัยของสังขาร
คือทิฏฐินั้น.
บทว่า สาปิ เวทนา ไต้แก่ เวทนาซึ่งเป็นปัจจัยของตัณหานั้น.
บทว่า โสปิ ผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันเกิดจากอวิชชาซึ่งเป็น
ปัจจัยของเวทนานั้น.
บทว่า สาปิ อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชาอันสัมปยุตด้วยผัสสะนั้น.

ถ้ามีเรา บริขารของเราก็มี


บทว่า โน จสุสํ โน จ เม สิยา ความว่า ถ้าเราไม่พึงมีไซร้
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมีด้วย.
บทว่า น ภวิสฺสามิ น เม ภวิสฺสติ ความว่า ก็ถ้าแม้ในอนาคต
เราจักไม่มีไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้บริขารของเราก็จักไม่มีด้วย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาให้ภิกษุนั้นสลัดทิ้งทิฏฐิที่ยึดถือไว้
แล้ว ๆ ตามอัธยาศัยบุคคลบ้าง ตามการยักย้ายเทศนาบ้าง.
ในบทว่า ตโตโช โส สงฺขาโร พึงทราบอธิบายว่า :-
ถามว่า ในจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหาไม่มีวิจิกิจฉาเลย (แล้ว)
สังขารคือวิจิกิจฉาจะเกิดจากตัณหาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สังขารคือวิจิกิจฉาเกิดจากตัณหาก็เพราะยังละตัณหา
ไม่ได้. อธิบายว่า เมื่อตัณหาใดยังละไม่ได้ สังขารคือวิจิกิจฉานั้นก็
เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตัณหานั้น จึงตรัสคำนี้ว่า
ตโตโช โส สงฺขาโร.