เมนู

ความสมัครสมาน จึงได้เสด็จพุทธดำเนิน (ต่อไป) ยังป่าปาจีนวังสะ.
พระองค์ได้ตรัสอานิสงส์ในการอยู่ด้วยกันด้วยความสมัครสมานแก่
ภิกษุทั้ง 3 รูปนั้นตลอดคืน (แล้วรุ่งเช้าเสด็จออกบิณฑบาต) ทรงให้
ภิกษุทั้ง 3 รูปนั่นกลับในที่นั้นนั่นเอง แล้วเสด็จหลีกมุ่งสู่เมืองปาลิเลยยกะ
ตามลำพังพระองค์เดียว เสด็จถึงเมืองปาลิเลยยกะตามลำดับ ด้วยเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะเสด็จจาริกไป
ตามลำดับ ก็ได้เสด็จไปทางเมืองปาลิเลยยกะ.

ช้างอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า


บทว่า ภทฺทสาลมูเล ความว่า ชาวเมืองปาลิเลยยกะถวายทาน
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้พากันสร้างบรรณศาลาถวาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าในราวป่าชื่อรักขิตะ. ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากป่า
ปาลิเลยยกะ ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประทับอกว่า
ขอนิมนต์พระองค์ประทับอยู่ในบรรณคาลานี้เถิด.
ก็แล ต้นสาละบ้างต้นในราวป่านั้นนั่นแล เป็นต้นไม้ใหญ่
ประเสริฐ จึงเรียกว่า ภัททสาละ พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปอาศัยเมือง
นั้นประทับอยู่ที่โคนต้นไม้นั้น (ซึ่งอยู่) ใกล้บรรณศาลาในราวป่านั้น
ด้วยเหตุนั้นพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ภทฺทสาลมูเล.
ก็เมื่อพระถาคตประทับอยู่ในราวป่านั้นอย่างนั้น ช้างพลาย
ตัวหนึ่ง ถูกพวกช้างพังและลูกช้างเป็นต้น เบียดเสียดในสถานที่
ทั้งหลายมีสถานที่ออกหากินและสถานที่ลงท่าน้ำเป็นต้น เมื่อหน่าย
(ที่จะอยู่) ในโขลง คิดว่า เราจะอยู่กับช้างพวกนี่ไปทำไม จึงละโขลง
(ออก) ไปยังถิ่นมนุษย์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในราวป่าปาลิเลยยกะ

(ทันทีที่เห็น) ใจก็สงบเยือกเย็นประหนึ่งความร้อนที่ ถูกดับด้วยน้ำพันหม้อ.
ได้ยืนอยู่ใกล้พระคาสดา.
นับแต่นั้นมา ช้างนั้นก็ทำวัตรปฏิบัติถวายพระศาสดา ถวายน้ำ
บ้วนพระโอษฐ์ นำน้ำสรงมาถวาย ถวายไม้สีฟัน กวาดบริเวณ
นำผลไม้มีรสอร่อยจากป่ามาถวายพระคาสดา. พระศาสดาก็ทรงเสวย.
คืนวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจงกรมแล้วประทับนั่งบนแผ่นหิน.
ฝ่ายช้างพลายก็ยืนอยู่ในที่ใกล้ๆ. พระคาสดาทรงเหลียวมองด้าน
พระปฤษฎางค์แล้ว มองไม่เห็นใคร ๆ เลย เหลียวมองด้านหน้าและ
ด้านพระปรัศว์ทั้งสอง ก็มองไม่เห็นใคร ๆ เลยอย่างนั้น (เหมือนกัน).
ขณะนั้นพระองค์เกิดพระดำริขึ้นว่า สุขแท้หนอ ที่เราตถาคต
อยู่แยกจากภิกษุผู้ก่อความบาดหมางกันเหล่านั้น. ฝ่ายช้างพลายก็คิดถึง
เหตุเป็นต้นว่า ไม่มีช้างเหล่าอื่นคอยเคี้ยวกินกิ่งไม้ที่เราโน้มลง แล้ว
เกิดความคิดขึ้นว่า สุขแท้หนอที่เราอยู่ช้างเดียว เราได้ทำวัตรถวาย
พระศาสดา.
พระศาสดาตรวจดูพระดำริของพระองค์แล้วทรงดำริว่า จิต
ของเราตถาคตเป็นเช่นนี้ก่อน จิตของช้างเป็นเช่นไรหนอแล ทรงเห็น
จิตของช้างนั้นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน จึงทรงดำริว่า จิตของเราทั้งสอง
เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า
จิตของช้างตัวประเสริฐผู้มีงางอน กับจิต
อันประเสริฐ (ของเราตถาคต) นี้ ย่อมเข้ากันได้
(และ) ไม่ว่าจะเป็นใคร ถ้ายินดีอยู่ในป่า (จิต
ของเขากับจิตของเราตถาคตย่อมเข้ากันได้ทั้งนั้น)

บทว่า อถโข สมุพหุลา ภิกฺขู ความว่า ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคต
ประทับอยู่ในป่าปาลิเลยยกะนั้น ดังพรรณนามานี้ ภิกษุ 500 รูปที่
จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย.
บทว่า เยนายสฺมา อานนฺโท ความว่า (ภิกษุเหล่านั้น)
ไม่สามารถจะไปสำนักพระศาสดาตามธรรมดาของตนได้ จึงเข้าไป
หาพระอานนท์จนถึงที่อยู่.

ศาสนาธรรม


บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย ความว่า อรหัตตผล
ต่อจากมรรค.
บทว่า วิจยโส แปลว่า ด้วยการวิจัย อธิบายว่า กำหนดด้วย
ญาณซึ่งสามารถวิจัยถึงสภาวะของธรรมเหล่านั้น ๆ.
บทว่า ธมฺโม หมายถึง ศาสนธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงธรรมกำหนดส่วนเหล่าใดมีอาทิว่า สติปัฏฐาน 4 ไว้ เพื่อ
ต้องการประกาศส่วนเหล่านั้น พระองค์จึงตรัส (พระพุทธพจน์นี้ไว้).

ปฏิจจสมุปบาทย่อย


บทว่า สมนุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นด้วยทิฏฐิ.
บทว่า สํขาโร โส ได้แก่ สังขารคือทิฏฐินั้น.
บทว่า ตโตโช โส สงฺขาโร ความว่า สังขารนั้นเกิดจาก
ตัณหานั้น อธิบายว่า ในบรรดาจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหา สังขารนั้น
ย่อมเกิดในจิต 4 ดวง.