เมนู

ก็แลอุปมา (ว่าด้วยดุ้นฟืนเผาศพ) นี้ พระศาสดาทรงนำมามิใช่
ด้วยอำนาจของภิกษุผู้ทุศีล แต่ทรงนำมาด้วยอำนาจบุคคลผู้มีศีล
บริสุทธิ์ (แต่) เกียจคร้านถูกโทษ ทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นครอบงำแล้ว.

อกุศลวิตกทำให้คนเป็นเหมือนดุ้นฟืนเผาศพ


ถามว่า

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มว่า
ตโยเม ภิกฺขเว ไว้ ?
ตอบว่า ทรงเริ่มไว้เพื่อแสดงว่า สภาพของบุคคลนี้ที่เปรียบ
เหมือนดุ้นฟืนเผาศพ มารดาบิดามิได้ทำให้ อุปัชฌาย์อาจารย์มิได้ทำให้
แต่อกุศลวิตกเหล่านี้ (ต่างหาก) ทำให้.
บทว่า อนิมิตฺตํ วา สมาธึ ได้แก่ สมาธิในวิปัสสนา อธิบายว่า
สมาธิในวิปัสสนานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนิมิตตะ
(ไม่มีนิมิต) เพราะถอนนิมิตทั้งหลายมีนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้.
อนึ่ง ในพระบาลีตอนนี้พึงทราบความว่า สติปัฏฐาน 4
ระคนกัน (ส่วน) อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีนิมิต) เป็นบุรพภาค
(ส่วนเบื้องต้น) อีกอย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาธิ ระคนกัน (ส่วน) สติปัฏฐาน
เป็นบุรพภาค.

อนิมิตตสมาธิถอนทิฏฐิ 2 อย่าง


คำนี้ว่า เทฺวมา ภิกฺขเว ทิฏฺฐิโย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อ
แสดงว่า อนิมิตตสมาธิภาวนา ย่อมเป็นไปเพื่อละมหาวิตกทั้ง 3 เหล่านี้
อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ แต่ยังถอนสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิได้อีกด้วย.
บทว่า น วชฺชวา อสฺสํ ได้แก่ เราพึงเป็นผู้ไม่มีโทษ.

บทที่เหลือในพระบาลีนี้ง่ายทั้งนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงเทศนาในสูตรแม้นี้ให้วนเวียนอยู่กับ
ภพ 3 แล้ว จดยอด (ให้จบลง) ด้วยอรหัตตผลด้วยประการดังพรรณนา
มาฉะนี้.
เวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูป ได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
จบอรรถกถาปิณโฑลยสูตรที่ 8

9. ปาลิเลยยสูตร



ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสวะ



[170] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
ใกล้พระนครโกสัมพี. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงผ้าอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังพระนคร
โกสัมพีเพื่อบิณฑบาต. ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครโกสัมพี
แล้ว. ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บงำ
เสนาสนะด้วยพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร มิได้รับสั่งเรียก
พวกภิกษุที่เป็นอุปัฏฐาก มิได้ตรัสอำลาพระภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียว
ไม่มีเพื่อนเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก.
[171] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปแล้วไม่นาน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะท่านพระอานนท์ พระผู้มี-