เมนู

นมัสการพระนิฏเถระอยู่ พระเถระ
เป็นพระขีณาสพ รับผ้าบังสุกุล.
ฯลฯ
เป็นพระขีณาสพทำผ้าบังสุกุล

ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยึดยอดพระอรหัตต์
โดยทรงขยายเทศนาออกไป ด้วยภพทั้ง 3 ด้วยประการฉะนี้.
เวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูป ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์.
จบอรรถกถาขัชชนิยสูตร

8. ปิณโฑลยสูตร



ว่าด้วยเหตุที่ต้องดำรงชีพด้วยบิณฑบาต



[165] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ใกล้พระนครกบิลพัศดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเรื่องหนึ่งแล้ว เวลาเช้า ทรงผ้า
อันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร
กบิลพัศดุ์. ครั้นแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต
เสด็จไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักในกลางวัน ครั้นเสด็จถึงป่า-
มหาวันแล้ว ได้ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม. ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดพระปริวิตกขึ้น
ว่า เราแลได้ขับไล่ภิกษุสงฆ์ให้ไปแล้ว ในภิกษุสงฆ์เหล่านี้ พวกภิกษุ
ใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็น
เรา ต้องว้าเหว่ใจ คงเปลี่ยนแปลงจิตใจ เหมือนลูกโคน้อย ๆ เมื่อ
ไม่เห็นแม่ ต้องว้าเหว่ใจ คงเปลี่ยนแปลงจิตใจฉะนั้น (และ) เหมือนกับพืชที่
ยังอ่อน ๆ ไม่ได้น้ำ พึงมีความผันแปรเปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น ถ้ากระไร

เราพึงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้อนุเคราะห์มาแล้ว
ในก่อน ๆ ฉะนั้นเถิด.
[166] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบพระปริวิตกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตนแล้ว ได้หายไปจากพรหมโลก มา
ปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนกับบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม
ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วประนมมือกราบทูลพระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่
พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
ขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ในภิกษุสงฆ์เหล่านี้ พวกภิกษุที่ยังใหม่
บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้มีอยู่ เมื่อภิกษุสงฆ์เหล่านั้นไม่เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ต้องว้าเหว่ใจ คงเปลี่ยนแปลงจิตใจ เหมือนกับ
ลูกโคน้อย ๆ เมื่อไม่เห็นแม่ ต้องว้าเหว่ใจ คงเปลี่ยนแปลงจิตใจ ฉะนั้น
เหมือนกับพืชที่ยังอ่อน ๆ เมื่อไม่ได้น้ำ พึงมีความผันแปรเปลี่ยนแปลง
ไป ฉะนั้น พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพร่ำสอนภิกษุสงฆ์ จงทรงอนุเคราะห์
ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้ทรงอนุเคราะห์มาแล้วแต่ก่อน ๆ
ฉะนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาโดยดุษณียภาพ
ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
อาราธนาแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณ
แล้ว อันตรธานไปจากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล.
[167] ลำดับนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ออกจากที่พักผ่อนแล้ว เสด็จไปยังนิโครธาราม แล้วประทับนั่งบนอาสนะ

ที่เขาปูไว้ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขาร
ให้ภิกษุเหล่านั้นเกรงกลัว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ
ทีละรูปบ้าง สองรูปบ้าง ครั้นแล้วต่างก็ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ สถานที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งลงเรียบร้อยแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสพระพุทธวจนะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อเลวทรามของ
การเลียงชีพทั้งหลาย ก็คือการแสวงหาบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายย่อมได้
รับคำแช่งด่าในโลกว่า เป็นผู้มีมือถือบาตรเที่ยวแสวงหาบิณฑบาต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรทั้งหลายเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ
อาศัยอำนาจแห่งเหตุ จึงเข้าถึงความเป็นผู้แสวงหาบิณฑบาตนี้แล ไม่ใช่
เป็นคนหนีราชทัณฑ์ ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช ไม่ใช่เป็น
คนมีหนี้ ไม่ใช่เป็นคนมีภัย ไม่ใช่เป็นคนมีอาชีพแร้นแค้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายเป็น
ผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ
แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ประจำแล้ว ไฉนหนอ?
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ แต่ว่ากุลบุตรนั้น
เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งใจอันโทสะประทุษร้ายแล้ว มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
มีใจไม่เป็นสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวบุคคลผู้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย ไม่ทำประโยชน์
คือ ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ด้วย ว่ามีอุปมาเหมือนกับดุ้นฟืนใน
ที่เผาศพ ซึ่งไฟติดทั้งสองข้าง ตรงกลางก็เปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟืนในบ้าน
ก็ไม่ได้ จะใช้เป็นฟืนในป่าก็ไม่ได้ ฉะนั้น.
[168] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก 3 อย่างนี้ คือ กามวิตก 1
พยาบาทวิตก 1 วิหิงสาวิตก 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิต

ตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน 4 หรือเจริญอนิมิตตสมาธิอยู่ อกุศลวิตก 3
อย่างนี้แล ย่อมดับโดยไม่เหลือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิมิตตสมาธิ
ควรแท้ที่จะเจริญจนกว่าจะละอกุศลวิตกนี้ได้ อนิมิตตสมาธิที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[169] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ 2 อย่างนี้ คือ ภวทิฏฐิ 1
วิภวทิฏฐิ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นในทิฏฐิ 2 อย่างนั้น ดังนี้ว่า เรายึดถือสิ่งใดในโลกอยู่ จะพึงเป็น
ผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นมีอยู่บ้างไหม? เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เรายึดถือ
สิ่งใดในโลกอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีเลย เธอย่อมทราบชัด
อย่างนี้ ก็เราเมื่อยึดถือ พึงยึดถือรูปนั้นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือเวทนา
นั้นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือสัญญานั่นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือสังขาร
นั่นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือวิญญาณนั่นเอง ภพพึงมีแก่เรา เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ พึงมีได้ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป ฯลฯ
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับ
แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ ปิณโฑลยสูตรที่ 8

อรรถกถาปิณโฑลยสูตรที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในปิณโฑลยสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กิสฺมิญฺจิเทว ปกรเณ ได้แก่ ในเพราะเหตุบางอย่างนั่นเอง.
บทว่า ปณาเมตฺวา แปลว่า ไล่ออกไป.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่ภิกษุเหล่านี้ไปใน
เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า ความจริงมีอยู่ว่า ภายในพรรษาหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับจำพรรษาอยู่ในเมืองสาวัตถี ออกพรรษาปวารณาแล้ว
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีเที่ยวจาริกไป
ในชนบท เสด็จถึงเมืองกบิลพัสดุ์ แล้วเสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม.
เจ้าศากยะทั้งหลายได้สดับ (ข่าว) ว่า พระศาสดาเสด็จมาถึงแล้ว
หลังเสวยพระกระยาหารเสร็จทรงรับสั่งให้ราชบุรุษทั้งหลายหาบ
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น และน้ำปานะที่เป็นกัปปิยะ
หลายร้อยหาบ เสด็จไปสู่วิหารมอบถวายพระสงฆ์ ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วประทับนั่งทำปฏิสันถาร (กับพระศาสดา) ณ ที่สมควร
ส่วนข้างหนึ่ง. (ฝ่าย) พระศาสดาประทับนั่งตรัสธรรมกถาอันไพเราะ
ถวายเจ้าศากยะเหล่านั้น.